ยินดีต้อนรับสู่เว็บ สวดมนต์เจ็ดตำนาน พร้อมทั้งตำนาน อานิสงส์ คำแปลและเสียงสวด ด้วยความยินดียิ่ง แวะเข้ามาเยี่ยมชมบ่อยๆนะครับ

Friday, September 23, 2022

บทสวดมนต์ ขันธปริตร พร้อมตำนาน อานิสงส์และคำแปล

 


บทสวดมนต์ ขันธปริตร

ที่จะได้นำเสนอนี้เป็น ขันธะปะริตตะคาถา ประกอบด้วย 1.บทสวด ขันธะปะริตตะคาถา 2. ตำนาน ขันธะปะริตตะคาถา 3.อานิสงส์ ขันธะปะริตตะคาถา 4.คำแปล ขันธะปะริตตะคาถา และ 5.เสียงสวด ขันธะปะริตตะคาถา ตามลำดับดังต่อไปนี้


1.บทสวด ขันธปริตร

 

วิรูปักเขหิ เม เมตตัง............ เมตตัง เอราปะเถหิ เม

ฉัพยาปุตเตหิ เม เมตตัง.......เมตตัง กัณหาโคตะมะเกหิ จะ

อะปาทะเกหิ เม เมตตัง........ เมตตัง ทิปาทะเกหิเม

จะตุปปะเทหิ เม เมตตัง....... เมตตัง พะหุปปะเทหิ เม

มา มัง อะปาทะโก หิงสิ....... มา มัง หิงสิ ทิปาทะโก

มา มัง จะตุปปะโท หิงสิ........มา มัง หิงสิ พะหุปปะโท

สัพเพ สัตตา สัพเพ ปาณา....สัพเพ ภูตา จะ เกวะลา

สัพเพ ภัทรานิ ปัสสันตุ.........มา กิญจิ ปาปะมาคะมา

 (ย่อ) อัปปะมาโณ พุทโธ อัปปะมาโณ ธัมโม อัปปะมาโณ สังโฆ ปะมาณะวันตานิ สิริงสะปานิ

 อะหิ วิจฉิกา สะตะปะที อุณณานาภี สะระพู มูสิกา กะตา เม รักขา กะตา เม ปะริตตา ปะฏิกกะ

มันตุ ภูตานิ โสหัง นะโม ภะคะวะโต นะโม สันตันนัง สัมมาสัมพุทธานัง ฯ


2.ตำนาน ขันธปริตร


ขันธปริตร หรืออหิราชสูตร  นี้มีเรื่องเล่าอันเป็นต้นเหตุที่ให้พระพุทธองค์ตรัสพระสูตรนี้ว่า มีพระ

ภิกษุรูปหนึ่งถูกงูพิษขบกัดถึงแก่มรณภาพ พวกพระสงฆ์พุทธสาวกทราบความนี้แล้ว พากัน

สะดุ้งกลัวงูกันไปทั่ว ทั้งได้ความสลดใจที่พระภิกษุรูปนั้นต้องมามรณภาพลง ได้กราบทูลให้

พระพุทธองค์ทรงทราบ พระพุทธองค์ตรัสว่า งูไม่น่าจะขบกัดพระเลย เพราะโดยปกติพระย่อม

อยู่ด้วยเมตตา ชะรอยพระรูปนี้จะไม่ได้แผ่เมตตาเป็นปุเรจาริก จึงถูกงูขบกัดถึงแก่มรณภาพได้

 หากภิกษุแผ่เมตตาจิตในพญางูทั้งสี่ตระกูลแล้ว เธอจะไม่ถูกงูขบกัดเลย พญางูทั้ง 4 ตระกูล

 คือ 1.งูตระกูลวิรูปักษ์ 2.งูตระกูลเอราบถ 3.งูตระกูลฉัพยาบุตร และ 4.งูตระกูลกัณหาโคตมะ จึง

ทรงอนุญาตให้ภิกษุแผ่เมตตาจิตไปยังตระกูลงูทั้งสี่นั้น เพื่อคุ้มครองตน เพื่อรักษาตัว เพื่อ

ป้องกันตัวต่อไป แล้วจึงตรัส ขันธปริตร หรืออหิราชสูตร เนื่องจากเหตุดังกล่าวมานี้ พระโบ

ราณาจารย์จึงจัดพระสูตรนี้เข้าเป็นบทสวดมนต์เจ็ดตำนาน ที่พระสงฆ์นิยมใช้สวดในงานมงคล

 ดังที่ปรากฏมาจนถึงปัจจุบันนี้


3.อานิสงส์ ขันธปริตร


เป็นพระปริตรที่พระพุทธเจ้าทรงประทานให้ภิกษุใช้สวดเพื่อแผ่เมตตา ผูกมิตรกับพญานาค งู สัตว์มีพิษ และสัตว์ทั้งหลาย

เพื่อป้องกันภยันตรายจากอสรพิษและสัตว์ทั้งหลาย


4.คำแปล ขันธปริตร


4.1 คำแปลโดยอรรถ


วิรูปักเขหิ เม เมตตัง

-ความเป็นมิตรของข้าพเจ้า จงมีกับพญางูทั้งหลาย สกุลวิรูปักษ์ด้วย

เมตตัง เอราปะเถหิ เม

-ความเป็นมิตรของข้าพเจ้า จงมีกับพญางูทั้งหลาย สกุลเอราบถด้วย

ฉัพยาปุตเตหิ เม เมตตัง

-ความเป็นมิตรของข้าพเจ้า จงมีกับพญางูทั้งหลาย สกุลฉัพยาบุตรด้วย

เมตตัง กัณหาโคตะมะเกหิ จะ

-ความเป็นมิตรของข้าพเจ้า จงมีกับพญางูทั้งหลาย สกุลกัณหาโคตมะด้วย

อะปาทะเกหิ เม เมตตัง

-ความเป็นมิตรของข้าพเจ้า จงมีกับสัตว์ทั้งหลาย ที่ไม่มีเท้าด้วย

เมตตัง ทิปาทะเกหิ เม

-ความเป็นมิตรของข้าพเจ้า จงมีกับสัตว์ทั้งหลาย ที่มี 2 เท้าด้วย

จะตุปปะเทหิ เม เมตตัง

-ความเป็นมิตรของข้าพเจ้า จงมีกับสัตว์ทั้งหลาย ที่มี 4 เท้าด้วย

เมตตัง พะหุปปะเทหิ เม

-ความเป็นมิตรของข้าพเจ้าง จงมีกับสัตว์ทั้งหลาย ที่มีเท้ามากด้วย

มา มัง อะปาทะโก หิงสิ

-สัตว์ไม่มีเท้าอย่างเบียดเบียนข้าพเจ้า

มา มัง หิงสิ ทิปาทะโก

-สัตว์ 2 เท้า อย่าเบียดเบียนข้าพเจ้า

มา มัง จะตุปปะโก หิงสิ

-สัตว์ 4 เท้า อย่าเบียดเบียนข้าพเจ้า

มา มัง หิงสิ พะหุปปะโก

-สัตว์มากเท้า อย่าเบียดเบียนข้าพเจ้า

สัพเพ สัตตา สัพเพ ปาณา

-ขอสรรพสัตว์ มีชีวิตทั้งหลาย

สัพเพ ภูตา จะ เกวะลา

-ที่เกิดมาทั้งหมดจนสิ้นเชิงด้วย

สัพเพ ภัทรานิ ปัสสันตุ

-จงเห็นซึ่งความเจริญ ทั้งหลายทั้งปวงเถิด

มา กิญจิ ปาปะมาคะมา

-โทษลามกไรๆอย่าได้มาถึงแล้ว แก่สัตว์เหล่านั้น

อัปปะมาโณ พุทโธ

-พระพุทธเจ้า ทรงพระคุณไม่มีประมาณ

อัปปะมาโณ ธัมโม

-พระธรรม ทรงพระคุณไม่มีประมาณ

อัปปะมาโณ สังโฆ

-พระสงฆ์ ทรงพระคุณไม่มีประมาณ

ปะมาณะวันตานิ สิริงสะปานิ,อะหิ วิจฉิกา สะตะปะที,อุณณานาภี สะระพู มูสิกา

-สัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย คือ งู แมลงป่อง ตะเข็บ ตะขาบ แมลงมุม ตุ๊กแก หนู เหล่านี้ ล้วนมีประมาณ(ไม่มากเหมือนพระรัตนตรัย)

กะตา เม รักขา กะตา เม ปะริตตา

-ความรักษา อันข้าพเจ้ากระทำแล้ว ความป้องกัน อันข้าพเจ้ากระทำแล้ว

ปะฏิกกะมันตุ ภูตานิ

-หมู่สัตว์ทั้งหลาย จงหลีกไปเสีย

โสหัง นะโม ภะคะวะโต

-ข้าพเจ้านั้น กระทำความนอบน้อม แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่

นะโม สัตตันนัง สัมมาสัมพุทธานัง ฯ

-ทำความนอบน้อม แด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า 7 พระองค์อยู่


4.2 คำแปลโดยยกศัพท์


วิรูปักเขหิ เม เมตตัง

-เมตตัง อันว่าความเป็นมิตร เม ของข้าพเจ้า วิรูปกเขหิ ด้วยพญางู สกุลวิรูปักษ์ทั้งหลาย ภะวะตุ จงมี.

เมตตัง เอราปะเถหิ เม

-เมตตัง อันว่าความเป็นมิตร เม ของข้าพเจ้า วิรูปกเขหิ ด้วยพญางู สกุลเอราบถทั้งหลาย ภะวะตุ จงมี.

ฉัพยาปุตเตหิ เม เมตตัง

-เมตตัง อันว่าความเป็นมิตร เม ของข้าพเจ้า วิรูปกเขหิ ด้วยพญางู สกุลฉัพยาบุตรทั้งหลาย ภะวะตุ จงมี.

เมตตัง กัณหาโคตะมะเกหิ จะ

-จ อนึ่ง เมตตัง อันว่าความเป็นมิตร เม ของข้าพเจ้า กัณหาโคตะมะเกหิ ด้วยพญางู สกุลกัณหาโคตะมะกะทั้งหลาย ภะวะตุ จงมี.

อะปาทะเกหิ เม เมตตัง

-เมตตัง อันว่าความเป็นมิตร เม ของข้าพเจ้า อะปะทะเกหิ ด้วยสัตว์ที่ไม่มีเท้าทั้งหลาย ภะวะตุ จงมี.

เมตตัง ทิปาทะเกหิ เม

-เมตตัง อันว่าความเป็นมิตร เม ของข้าพเจ้า ทิปาทะเกหิ ด้วยสัตว์ที่มี 2 เท้าทั้งหลาย ภะวะตุ จงมี.

จะตุปปะเทหิ เม เมตตัง

-เมตตัง อันว่าความเป็นมิตร เม ของข้าพเจ้า จะตุปปะเทหิ ด้วยสัตว์ที่มี 4 เท้าทั้งหลาย ภะวะตุ จงมี.

เมตตัง พะหุปปะเทหิ เม

-เมตตัง อันว่าความเป็นมิตร เม ของข้าพเจ้า พะหุปปะเทหิ ด้วยสัตว์ที่มีเท้ามากทั้งหลาย ภะวะตุ จงมี.

มา มัง อะปาทะโก หิงสิ

-อะปาทะโก อันว่าสัตว์ไม่มีเท้า มา หิงสิ อย่าเบียดเบียดแล้ว มัง ซึ่งข้าพเจ้า

มา มัง หิงสิ ทิปาทะโก

-ทิปาทะโก อันว่าสัตว์ 2 เท้า มา หิงสิ อย่าเบียดเบียนแล้ว มัง ซึ่งข้าพเจ้า

มา มัง จะตุปปะโก หิงสิ

-จะตุปปะโก อันว่าสัตว์ 4 เท้า มา หิงสิ อย่าเบียดเบียนแล้ว มัง ซึ่งข้าพเจ้า

มา มัง หิงสิ พะหุปปะโก

-พะหุปปะโก อันว่าสัตว์มากเท้า มา หิงสิ อย่าเบียดเบียนแล้ว มัง ซึ่งข้าพเจ้า

สัพเพ สัตตา สัพเพ ปาณา

-สัตตา อันว่าสัตว์ทั้งหลาย สัพเพ ทั้งปวง ปาณา อันว่าสัตว์มีลมปราณาณทั้งหลาย สัพเพ ทั้งปวง

สัพเพ ภูตา จะ เกวะลา

-จ อนึ่ง ภูตา อันว่าภูตทั้งหลาย เกวลา ทั้งสิ้น สัพเพ ทั้งปวง

สัพเพ ภัทรานิ ปัสสันตุ

-สัพเพ สัตตา อันว่าสัตว์ทั้งหลาย ทั้งปวง ปัสสันตุ จงเห็น ภัทรานิ ซึ่งความเจริญทั้งหลาย

มา กิญจิ ปาปะมาคะมา

-ปาปํ อันว่าบาป กิญจิ อะไรๆ มา อาคะมา อย่าได้มาถึงแล้ว สัพเพสัง สัตตานัง แก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง

อัปปะมาโณ พุทโธ

-พุทโธ อันว่าพระพุทธเจ้า อัปปะมาโณ เป็นผู้ทรงพระคุณไม่มีประมาณ โหติ ย่อมเป็น

อัปปะมาโณ ธัมโม

-ธัมโม อันว่าพระธรรม อัปปะมาโณ เป็นสภาวะมีพระคุณไม่มีประมาณ โหติ ย่อมเป็น

อัปปะมาโณ สังโฆ

-สังโฆ อันว่าพระสงฆ์ เป็นผู้มีพระคุณไม่มีประมาณ โหติ ย่อมเป็น

ปะมาณะวันตานิ สิริงสะปานิ,อะหิ วิจฉิกา สะตะปะที,อุณณานาภี สะระพู มูสิกา

-สิริงสะปานิ อันว่าสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย อิติ คือ อหิ อันว่างู วิจฉิกา อันว่าแมลงป่อง สะตะปะที อันว่าตะขาบ อุณณานาภี อันว่าแมลงมุม สะระพู อันว่าตุ๊กแก มูสิกา อันว่าหนู ปะมาณวันตานิ มีประมาณ (นับจำนวนได้ ไม่เหมือนพระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์) โหนติ ย่อมเป็น

กะตา เม รักขา กะตา เม ปะริตตา

-รักขา อันว่าความรักษา เม อันข้าพเจ้า กะตา กระทำแล้ว ปะริตตา อันว่าความป้องกัน เม อันข้าพเจ้า กะตา กระทำแล้ว

ปะฏิกกะมันตุ ภูตานิ

-ภูตานิ อันว่าภูต(เป็นต้น)ทั้งหลาย  ปะฏิกกะมันตุ จงหลีกไปเสีย

โสหัง นะโม ภะคะวะโต

-อะหัง อันว่าข้าพเจ้า โส นั้น นะโม เป็นผู้กระทำความนอบน้อม ภะคะวะโต แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

นะโม สัตตันนัง สัมมาสัมพุทธานัง ฯ

-นtโม เป็นผู้กระทำความนอบน้อม สัมมาสัมพุทธานัง แด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย 7 พระองค์  อัมหิ ย่อมเป็น

5. เสียงบทสวด ขันธปริตร

https://youtu.be/WKesLCI5ciI

 

No comments:

Post a Comment

Google

Custom Search