ยินดีต้อนรับสู่เว็บ สวดมนต์เจ็ดตำนาน พร้อมทั้งตำนาน อานิสงส์ คำแปลและเสียงสวด ด้วยความยินดียิ่ง แวะเข้ามาเยี่ยมชมบ่อยๆนะครับ

Saturday, September 24, 2022

บทสวดมนต์ โมรปริตร พร้อมตำนาน อานิสงส์ คำแปล และเสียงสวด

 


บทสวดมนต์ โมรปริตร พร้อมตำนาน อานิสงส์ คำแปล และเสียงสวด


ที่นำมาเสนอประกอบด้วยส่วนสำคัญ 5 ส่วน คือ 1.บทสวด โมรปริตร 2.ตำนานโมรปริตร

 3.อานิสงส์ โมรปริตร 4.คำแปลโมรปริตร และ 5.เสียงสวด โมรปริตร ตามลำดับดังนี้


1.บทสวด โมรปริตร


อุเทตะยัญจักขุมา เอกะราชา

หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส

ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง

ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ ทิวะสัง

เย พ๎ราห๎มะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม

เต เม นะโม เต จะ มัง ปาละยันตุ

นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา

นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา

อิมัง โส ปะริตตัง กัต๎วา โมโร จะระติ เอสะนา ฯ

 

อะเปตะยัญจักขุมา เอกะราชา

หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส

ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง

ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ รัตติง

เย พ๎ราห๎มะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม

เต เม นะโม เต จะ มัง ปาละยันตุ

นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา

นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา

อิมัง โส ปะริตตัง กัต๎วา โมโร วาสะมะกัปปะยีติ ฯ


2.ตำนาน โมรปริตร


มีตำนานว่า ในรัชสมัยของพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในพระนครพาราณสี ครั้งอดีตกาล

พระโพธิสัตว์เกิดเป็นนกยูง มีสีขนเหมือนทอง งดงามน่ารัก มีริ้วสีแดงเป็นเส้นงามอยู่ใต้ปีกทั้ง

สองข้าง อาศัยอยู่ ณที่ราบบนภูเขาทัณฑกหิรัญเทือกเขาลูกที่ 4 ตั้งอยู่ในดงลึกเลยเทือกเขา

อื่นเข้าไป 3 ลูก


นกยูงทองนั้นระวังรักษาชีวิตของตนเป็นอย่างดี และเพื่อคุ้มครองป้องกันตัวในขณะออกหากิน

ในกลางวัน ทุกรุ่งเช้านกยูงทองจะขึ้นไปบนยอดเขาสูงเฝ้ามองดวงอาทิตย์กำลังขึ้นสู่ท้องฟ้า

 แล้วผูกพระปริตรเป็นพรหมมนต์ขึ้นกล่าวนมัสการพระพุทธเจ้าทั้งหลายซึ่งเสด็จนิพพานแล้ว

 พร้อมทั้งพระคุณของพระองค์ด้วย เสร็จแล้วจึงออกเที่ยวหาอาหาร


เมื่อเที่ยวหาอาหารไปตลอดวันแล้ว ครั้นตกถึงเย็นนกยูงทองนั้นจะกลับมาและขึ้นไปอยู่บนยอด

เขาสูง เฝ้ามองดวงอาทิตย์กำลังตกดิน แล้วผูกพรหมมนต์ขึ้นกล่าวนมัสการดวงอาทิตย์ที่กำลัง

อัสดง และกล่าวนมัสการพระพุทธเจ้าทั้งหลายซึ่งปรินิพพานแล้วพร้อมทั้งพระคุณของพระองค์

เหล่านั้นด้วย แล้วเข้าพักนอน ด้วยอานุภาพของพระปริตรที่กล่าวนมัสการอยู่ทุกเช้าเย็นเช่นนี้

 นกยูงทองก็อยู่เป็นสุขและปลอดภัยมาช้านาน


ครั้นต่อมาภายหลังมีนายพรานผู้หนึ่งอยู่ในหมู่บ้านพรานใกล้พระนครพาราณสี ท่องเที่ยวไปใน

ป่าหิมพานต์ ไปใด้เห็นนกยูงทองบนภูเขาทัณฑกหิรัญนั้น เมื่อกลับมาบ้านจึงเล่าให้ลูกชายของ

ตนฟัง และต่อมาพระนางเขมามเหสีของพระเจ้าพาราณสีทรงพระสุบิน(ฝัน) เห็นนกยูงทอง

แสดงธรรมถวายแก่พระนาง ครั้นตื่นบรรทมก็กราบทูลพระเจ้าพาราณสีให้ทรงทราบ แล้วกราบ

ทูลวิงวอนว่า พระนางปรารถนาจะได้สดับธรรมของนกยูงทองเหมือนดังในความฝัน


พระเจ้าพาราณสีจึงโปรดให้ประชุมหมู่อำมาตย์แล้วตรัสถามถึงเรื่องนี้ พวกอำมาตย์กราบทูลว่า

 เรื่องนี้พวกพราหมณ์คงจะทราบ จึงตรัสถามพวกพราหมณ์ไป พวกพราหมณ์ก็กราบทูลว่า เคย

ได้ยินว่านกยูงทองนั้นมีอยู่จริง แต่จะอยู่ที่ไหนนั้นพวกนายพรานคงทราบ


พระเจ้าพาราณสีจึงตรัสสั่งให้เรียกนายพรานทั้งหลายมาประชุม แล้วทรงมีพระราชดำรัสถาม

 บุตรของนายพรานผู้ทราบเรื่อง นี้จึงกราบทูลว่า “ขอเดชะ นกยูงทองนั้นอาศัยอยู่บนภูเขา

ทัณฑกหิรัญ พะยะต่ะ”


พระเจ้าพาราณสีจึงตรัสสั่งนายพราน “ให้ไปจับเป็นมา อย่าฆ่าให้ตาย” นายพรานก็ได้เดินทาง

เข้าไปทอดบ่วงดักตามสถานที่นกยูงทองออกหากิน แต่แม้ว่านกยูงทองจะเหยียบบ่วงที่พราน

ดักไว้บ่วงก็ไม่คล้องเท้า นายพรานพยายามดักอยู่ 7 ปีก็จับนกยูงทองไม่ได้จนตัวเองตายอยู่ใน

ป่า และพระนางเขมาก็มิได้ทรงสดับพระธรรมจนสิ้นพระชนม์


พระเจ้าพาราณสีจึงทรงอาฆาตว่า พระมเหสีของพระองค์สิ้นพระชนม์เพราะนกยูง จึงโปรดให้

จารึกอักขระลงลานทองไว้ว่า “ในแถบป่าหิมพานต์ มีภูเขาชื่อทัณฑกหิรัญ มีนกยูงทองอาศัย

อยู่ที่ภูเขานั้น ผู้ใดได้กินเนื้อของนกยูงทอง ผู้นั้นจะไม่แก่ตายและมีอายุยืน” แล้วโปรดให้บรรจุ

ลานทองจารึกนั้นใส่ผอบสุวรรณ(ทอง)เก็บรักษาไว้


เมื่อพระเจ้าพาราณสพระองค์นั้นสิ้นพระขนม์แล้ว พระราชาองค์อื่นสืบราชสมบัติต่อมา ได้ทรง

อ่านจารึกลานทองนั้น ก็มีพระราชประสงค์จักไม่แก่ไม่ตายบ้าง จึงโปรดส่งนายพรานอีกคนหนึ่ง

ไปจับนกยูงทอง นายพรานนั้นไปพยายามจับอยู่หลายปีก็จับไม่ได้จนตัวตายในป่า เป็นดังนี้มา

ถึง 6 ชั่วพระราชาก็ยังจับนกยูงทองไม่ได้


ครั้นมาถึงรัชกาลของพระเจ้าพาราณสีองค์ที่ 7 ก็โปรดเกล้าฯส่งนายพรานอีกคนหนึ่งไปจับ นาย

พรานผู้นี้รู้เรื่องว่าที่นกยูงทองเหยียบบ่วงแล้วไม่คล้องขานั้น ก็เพราะว่านกยูงทองร่ายปริตร

ป้องกันตัวก่อนออกหากิน นายพรานจึงจับนกยูงตัวเมียมาตัวหนึ่ง เอามาฝึกหัดให้รำแพนและ

ส่งเสียงขับร้องจนชำนาญดีแล้วก็จึงนำเอาไปด้วย


พอรุ่งเช้าก่อนที่นกยูงทองจะร่ายพระปริตรนายพรานได้ปักหลักทอดบ่วงไว้เสร็จ แล้วให้นางนก

ยูงรำแพนส่งเสียงขับร้องขึ้น ฝ่ายนกยูงทองได้ยินเสียงมาตุคาม(นกยูงตัวเมีย) ก็มีใจเร่าร้อน

ด้วยไฟราคะ ไม่สามารถร่ายพระปริตรได้เช่นเคย รีบแล่นถลันไปหาเลยติดบ่วง นายพรานจึงจับ

ตัวได้พาไปถวายพระเจ้าพาราณสี พระเจ้าพาราณสีทอดพระเนตรเห็นรูปสมบัติก็ชอบพระทัย

 โปรดให้จัดอาสนะมาประทานแก่นกยูงทอง


พระโพธิสัตว์ขึ้นจับบนอาสนะที่จัดไว้แล้วทูลถามว่า “มหาราชะ เหตุไรพระองค์จึงตรัสสั่งให้ไปจับข้าพเจ้ามา”


พระเจ้าพาราณสีตรัสว่า “เขาว่าผู้ใดได้กินเนื้อของท่าน ผู้นั้นจะไม่แก่ไม่ตาย เพราะฉะนั้นฉันก็

อยากจะกินเนื้อท่านแล้วจะได้ไม่แก่ไม่ตายบ้าง จึงให้ไปจับท่านมา”


นกยูงทองจึงทูลว่า “ผู้ที่กินเนื้อของข้าพเจ้าแล้วไม่แก่ไม่ตาย แต่ตัวข้าพเจ้าต้องตาย”

พระราชาตรัสว่า” ถูกแล้ว ท่านต้องตาย”


นกยูงทองจึงว่า “ก็เมื่อข้าพเจ้าเองยังตาย แล้วทำไมคนที่กินเนื้อของข้าพเจ้าจักไม่ตาย”


พระราชาตรัสว่า “เพราะท่านมีสีเหมือนทอง คนที่กินเนื้อท่านแล้วก็จักไม่ตาย”


นกยูงทองทูลว่า “มหาราชะ การที่ข้าพเจ้าเกิดมามีสีเหมือนทองนั้น ไม่ใช่ว่าไม่มีเหตุผล ใน

ชาติก่อนข้าพเจ้าเคยเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ อยู่ในพระนครแห่งนี้แหละ ตัวข้าพเจ้ารักษาศีล 5

และชักชวนประชาชนทั่วทั้งจักรวาลให้รักษาศีล 5 ด้วย ครั้นตายแล้วข้าพเจ้าไปเกิดในภพดาว

ดิงส์จนตลอดอายุจึงจุติจากนั้น ด้วยอกุศลกรรมบางอย่างจึงมาเกิดเป็นนกยูง แต่ด้วยอานุภาพ

ของศีล 5 ในครั้งก่อนจึงมีสีเหมือนสีทอง”


พระเจ้าพาราณาสีจึงตรัสว่า “ที่ท่านพูดว่าท่านเคยเป็นพระเจ้าจักรพรรดิรักษาศีล 5 แล้วมาเกิด

เป็นกยูงทองด้วยผลของศีล 5 นั้น เราจะเชื่อได้อย่างไร มีใครเป็นพยานบ้าง”


นกยูงทูลว่า “มีสิ มหาราชะ”  “คือใคร”  “มหาราชะ เมื่อข้าพเจ้าเป็นพระเจ้าจักรพรรดินั้น เคยนั่ง

รถประดับด้วยรัตนะ 7 ประการ ท่องเที่ยวไปในอากาศ รถคั้นนั้นเวลานี้ฝังอยู่ใต้สระมงคล

โบกขรณี โปรดให้ขุดขึ้นมา จะได้เป็นสักขีพยานของข้าพเจ้า”


พระเจ้าพาราณสีจึงตรัสสั่งให้ไขน้ำออกจากสระแล้วให้นำเอารถนั้นขึ้นมา ครั้นพระราชาทอด

พระเนตรเห็น ก็ทรงเชื่อคำของพระโพธิสัตว์(นกยูงทอง)


พระโพธิสัตว์จึงแสดงธรรมถวายแก่พระเจ้าพาราณสีเป็นใจความว่า “ดูก่อนมหาราชะ นอกจาก

อมตมหานิพพานแล้ว สิ่งทั้งหลายนอกนั้น ล้วนเป็นสิ่งผสมปรุงแต่งขึ้น เป็นของไม่ยั่งยืนถาวร

 เพราะมีขึ้นแล้วก็ไม่มี เป็นของสิ้นไปเสื่อมไปโดยธรรมชาติ “ แล้วทูลให้พระเจ้าพาราณสีทรง

รักษาศีล 5 พระเจ้าพาราณสีจึงทรงยกราชสมบัติมอบให้แก่พระโพธิสัตว์ แล้วทรงทำสักการะ

แก่พระโพธิสัตว์เป็นการใหญ่ พระโพธิสัตว์รับราชสมบัติไว้แล้วกลับถวายคืนแก่พระเจ้าพา

ราณาสี เมื่อพักอยู่สองสามคืนแล้วถวายโอวาทกำชับว่า “ขอพระองค์อย่าทรงประมาท” แล้วบิน

ขึ้นสู่อากาศ กลับไปยังภูเขาทัณฑกหิรัญตามเดิม


3.อานิสงส์ของ โมรปริตร


โมรปริตรนี้ เป็นบทสวดเพื่อป้องกันภยันตรายต่างๆ


4.คำแปลของ โมรปริตร


4.1 คำแปลโดยอรรถ

#อุเทตะยัญจักขุมา เอกะราชา, หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส

พระอาทิตย์เป็นดวงตาของโลก เป็นเอกราช มีสีเพียงดังสีแห่งทอง ยังพื้นปฐพีให้สว่างอุทัยขึ้นมา

#ตัง ตัง นะมัสสามิ

เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระอาทิตย์นั้น

#หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง

ซึ่งมีสีเพียงดังสีแห่งทอง ยังพื้นปฐพีให้สว่าง

#ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ ทิวะสัง

ช้าพเจ้าทั้งหลาย อันท่านคุ้มครองแล้วในวันนี้ พึงอยู่เป็นสุข ตลอดวัน

#เย พ๎ราห๎มะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม

พราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใด ผู้ถึงซึ่งเวทในธรรมทั้งปวง

#เต เม นะโม

พราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น จงรับความนอบน้อมของข้าพเจ้า

#เต จะ มัง ปาละยันตุ

อนึ่ง พราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น  จงรักษาซึ่งข้าพเจ้า

#นะมัตถุ พุทธานัง

ความนอบน้อมของข้าพเจ้า จงมีแด่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย

#นะโม วิมุตตานัง

ความนอบน้อมของข้าพเจ้า จงมีแด่ท่านผู้หลุดพ้นแล้วทั้งหลาย

#นะโม วิมุตติยา

ความนอบน้อมของข้าพเจ้า จงมีแด่วิมุตติธรรม

#อิมัง โส ปะริตตัง กัต๎วา. โมโร จะระติ เอสะนา.

นกยูงนั้นได้กระทำปริตรอันนี้แล้ว จึงเที่ยวไป เพื่ออันแสวงหาอาหารฯ

#อะเปตะยัญจักขุมา เอกะราชา, หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส

พระอาทิตย์นี้ เป็นดวงตาของโลก  เป็นเอกราช มีสีเพียงดังสีแห่งทอง ยังพื้นปฐพีสว่าง ย่อม

อัสดงคตไป

#ตัง ตัง นะมัสสามิ

เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระอาทิตย์นั้น

#หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง

ซึ่งมีสีเพียงดังสีแห่งทอง ยังพื้นปฐพีให้สว่าง

#ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ รัตติง

ข้าพเจ้าทั้งหลาย อันท่านคุ้มครองแล้วในวันนี้ พึงอยู่เป็นสุข ตลอดคืน

#เย พ๎ราห๎มะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม

พราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใด ผู้ถึงซึ่งเวทในธรรมทั้งปวง

#เต เม นะโม

พราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น จงรับความนอบน้อมของข้าพเจ้า

#เต จะ มัง ปาละยันตุ

อนึ่ง พราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น  จงรักษาซึ่งข้าพเจ้า

#นะมัตถุ พุทธานัง

ความนอบน้อมของข้าพเจ้า จงมีแด่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย

#นะมัตถุ โพธิยา

ความนอบน้อมของข้าพเจ้า จงมีแด่พระโพธิญาณ

#นะโม วิมุตตานัง

ความนอบน้อมของข้าพเจ้า จงมีแด่ท่านผู้หลุดพ้นทั้งหลาย

#นะโม วิมุตติยา

ความนอบน้อมของข้าพเจ้า จงมีแด่วิมุตติธรรม

#อิมัง โส ปะริตตัง กัต๎วา โมโร,วาสะนะกัปปะยีติ

นกยูงนั้นได้กระทำปริตรอันนี้แล้ว จึงสำเร็จความอยู่แลฯ


4.2 คำแปลโดยยกศัพท์


#อุเทตะยัญจักขุมา เอกะราชา, หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส

สุริโย อันว่าพระอาทิตย์ อะยัง นี้ จักขุมา เป็นดวงตา (โลกัสสะ แห่งโลก) เอกะราชา เป็นผู้มีเอกราช หะริสสะวัณโณ เป็นผู้มีสีเพียงดังสีแห่งทอง ปะฐะวิปปะภาโส เป็นผู้ยังพื้นปฐพีให้สว่างอุทัยขึ้นมา โหติ ย่อมเป็น

#ตัง ตัง นะมัสสามิ

(ตัง)ตัสมา เพราะเหตุนั้น อะหัง อันว่าข้าพเจ้า นะมัสสามิ นอบน้อมอยู่ ตัง สุริยัง ซึ่งพระอาทิตย์นั้น

#หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง

หะริสสะวัณณัง ผู้มีสีเพียงดังสีแห่งทอง ปะฐะวิปปะภาสัง ผู้ยังพื้นปฐพีให้สว่าง

#ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ ทิวะสัง

มะยัง อันว่าช้าพเจ้าทั้งหลาย เต อัชชะ คุตตา เป็นผู้อันท่านคุ้มครองแล้ว ในวันนี้ หุตฺวา เป็น วิหเรมุ(วิหะเรยยามะ) พึงอยู่ สุขัง เป็นสุข ทิวะสัง ตลอดวัน

#เย พ๎ราห๎มะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม

พราหมะณา อันว่าพราหมณ์ทั้งหลาย เย เหล่าใด เวทคู เป็นผู้ถึงซึ่งฝั่งแห่งพระเวท(เป็นพระอรหันต์) สัพพะธัมเม ในธรรมทั้งปวง โหนติ ย่อมเป็น

#เต เม นะโม

เต พราหมะณา อันว่าพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น ปะฏิจฉันตุ จงรับ นมการัง (นะโม) ซึ่งความนอบน้อม อิมัง นี้ เม ของข้าพเจ้า

#เต จะ มัง ปาละยันตุ

จะ อนึ่ง เต พราหมะณา อันว่าพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น ปาละยันตุ จงรักษา มัง ซึ่งข้าพเจ้า

#นะมัตถุ พุทธานัง

นะมัตถุ อันว่าความนอบน้อม เม ของข้าพเจ้า อัตถุ จงมี พุทธานัง แด่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย

#นะโม วิมุตตานัง

นะโม อันว่าความนอบน้อม เม ของข้าพเจ้า อตฺถุ จงมี วิมุตตานัง แด่(แก่)ท่านผู้หลุดพ้นแล้วทั้งหลาย

#นะโม วิมุตติยา

นะโม อันว่าความนอบน้อม เม ของข้าพเจ้า อัตถุ จงมี วิมุตติยา แด่(แก่)วิมุตติธรรม

#อิมัง โส ปะริตตัง กัต๎วา, โมโร จะระติ เอสะนา.

โส โมโร อันว่านกยูงนั้น กัตวา กระทำแล้ว ปะริตตัง ซึ่งปริตร อิมัง อันนี้ จะริตวา เที่ยวไปแล้ว เอสะนา เพื่ออันแสวงหาอาหารฯ

#อะเปตะยัญจักขุมา เอกะราชา, หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส

อะยัง สุริโย อันว่าพระอาทิตย์นี้ จักขุมา เป็นผู้เป็นดวงตา โลกัสสะ ของโลก เอกะราชา เป็นผู้มีเอกราช หะริสสะวัณโณ เป็นผู้มีสีเพียงดังสีแห่งทอง ปะฐะวิปปะภาโส เป็นผู้ยังพื้นปฐพีสว่าง หุตฺวา เป็น อะเปติ ย่อมอัสดงคตไป

#ตัง ตัง นะมัสสามิ

(ตัง) ตสฺมา เพราะเหตุนั้น อะหัง อันว่าข้าพเจ้า นะมัสสะมานิ นอบน้อมอยู่ ตํ สุริยัง ซึ่งพระอาทิตย์ดวงนั้น

#หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง

หะริสสะวัณณัง ผู้มีสีเพียงดังสีแห่งทอง ปะฐะวิปปะภาสัง ผู้ยังพื้นปฐพีให้สว่าง

#ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ รัตติง

มะยัง อันว่าข้าพเจ้าทั้งหลาย อัชชะ เต คุตตา เป็นผู้อันท่านคุ้มครองแล้ว ในวันนี้ หุตฺวา เป็น วิหะเรมุ (วิหะเรยยามะ) พึงอยู่ สุขัง เป็นสุข รัตติง ตลอดคืน

#เย พ๎ราห๎มะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม

พราหมะณา อันว่าพราหมณ์ทั้งหลาย เย เหล่าใด เวทคู เป็นผู้ถึงซึ่งฝั่งแห่งพระเวท(เป็นพระอรหันต์) สัพพะธัมเม ในธรรมทั้งปวง โหนติ ย่อมเป็น

#เต เม นะโม

เต พราหมะณา อันว่าพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น ปะฏิจฉันตุ จงรับ นะโม(นะมะการัง) ซึ่งความนอบน้อม อิมัง นี้ เม ของข้าพเจ้า

#เต จะ มัง ปาละยันตุ

จะ อนึ่ง เต พราหมะณา อันว่าพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น ปาละยันตุ จงรักษา มัง ซึ่งข้าพเจ้า

#นะมัตถุ พุทธานัง

นะมัตถุ อันว่าความนอบน้อม เม ของข้าพเจ้า อัตถุ จงมี พุทธานัง แด่(แก่)พระพุทธเจ้าทั้งหลาย

#นะโม วิมุตตานัง

นะโม อันว่าความนอบน้อม เม ของข้าพเจ้า อตฺถุ จงมี วิมุตตานัง แด่(แก่)ท่านผู้หลุดพ้นแล้วทั้งหลาย

#นะโม วิมุตติยา

นะโม อันว่าความนอบน้อม เม ของข้าพเจ้า อัตถุ จงมี วิมุตติยา แด่(แก่)วิมุตติธรรม

#อิมัง โส ปะริตตัง กัต๎วา, โมโร วาสะนะกัปปะยีติฯ

โมโร อันว่านกยูง โส ตัวนั้น กัตวา กระทำแล้ว ปะริตตัง ซึ่งปริตร อิมัง นี้ กัปปะยิ สำเร็จแล้ว วาสะนัง ซึ่งความอยู่ อิติ ด้วยประการฉะนี้ฯ


5.เสียงสวด โมรปริตร

https://youtu.be/sgebAVpb9lc


Friday, September 23, 2022

บทสวดมนต์ โพชฌังคปริตร พร้อมตำนาน อานิสงส์ คำแปล และเสียงสวด

 


บทสวดมนต์ โพชฌังคปริตร พร้อมตำนาน อานิสงส์ คำแปล และเสียงสวด

ที่นำมาเสนอนี้ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 5 ส่วน คือ 1. บทสวด โพชฌังคปริตร 2.ตำนาน

 โพชฌังคปริตร 3.อานิสงส์ โพชฌังคปริตร 4.คำแปล โพชฌังคปริตร และ 5.เสียงสวด

 โพชฌังคปริตร ตามลำดับดังนี้


1.บทสวด โพชฌังคปริตร


โพชฌังโค สะติสังขาโต ...ธัมมานัง วิจะโย ตะถา

วิริยัมปีติปัสสัทธิ............... โพชฌังคา จะ ตะถาปะเร

สะมาธุเปกขะโพชฌังคา....สัตเตเต สัพพะทัสสินา

มุนินา สัมมะทักขาตา.........ภาวิตา พะหุลีกะตา

สังวัตตันติ อะภิญญายะ.....นิพพานายะ จะ โพธิยา

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ........โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา ฯ

 

เอกัส๎มิง สะมะเย นาโถ.....โมคคัลลานัญจะ กัสสะปัง

คิลาเน ทุกขิเต ทิสวา .......โพชฌังเค สัตตะ เทสะยิ

เต จะ ตัง อะภินันทิตวา.....โรคา มุจจิงสุ ตังขะเณ

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ.......โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา ฯ

 

เอกะทา ธัมมะราชาปิ........เคลัญเญนาภิปีฬิโต

จุนทัตเถเรนะ ตัญเญวะ.....ภะณาเปต๎วานะ สาทะรัง

สัมโมทิต๎วา จะ อาพาธา....ตัมหา วุฏฐาสิ ฐานะโส

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ........โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา ฯ

 

ปะหีนา เต จะ อาพาธา......ติณณันนัมปิ มะเหสินัง

มัคคาหะตะกิเลสา วะ........ปัตตานุปปัตติธัมมะตัง

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ ..... โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา ฯ


2.ตำนาน โพชฌังคปริตร


โพชฌงค์ เป็นชื่อหมวดธรรมที่เป็นเหตุให้ตรัสรู้อริยสัจ 4ของพระโยคีหรือพระโยคาวจร(พระ

โยคีหรือพระโยคาวจร แปลว่า ผู้หยั่งลงสู่ความพียร หรือผู้มีความเพียร) ในพระพุทธศาสนา

 หมวดธรรมที่เรียกว่า โพชฌงค์ หรือบางทีก็เรียกว่า สัมโพชฌงค์ นี้มีอยู่ 7 ข้อ คือ สติ ความ

ระลึกได้ ธรรมวิจัย ความเลือกเฟ้นธรรม วิริยะ ความพากเพียร ปีติ ความอิ่มใจ ปัสสัทธิ  ความ

สงบกาย สงบใจ สมาธิ ความตั้งใจมั่น และ อุเบกขา  ความวางเฉย เรียกตามศัพท์ธรรมเป็นราย

ข้อว่า สติสัมโพชฌงค์ ธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัม

โพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ และอุเบกขาสัมโพชฌงค์


โพชฌงค์ 7 นี้ เมื่อกล่าวตามบทสวดมนต์ที่นิยมสวดกัน ในหนังสือสวดมนต์ฉบับหลวงของ

สมเด็จพระสังฆราช(สา ปุสฺสเทว) ท่านนำพระสูตร 3 สูตร ที่กล่าวถึงโพชฌงค์ คือ มหากัสสป

โพชฌงคสูตร มหาโมคคัลลานโพชฌงคสูตร และมหาจุนทโพชฌชงคสูตร มาตั้งไว้หมวดหนึ่ง

ต่างหาก เรียกว่า ทุติยภาณวาร ในภาณวาร 4


ในภาษาไทยเรียกรวมอยู่ในสามภาณ ทั้ง 3 สูตรนั้นมีเนื้อความเหมือนกัน ต่างกันแต่บทนำของพระสูตรนั้น ดังนี้


-มหากัสสปโพชฌงคสูตร มีบทนำว่า สมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ วัดพระเวฬุวัน กรุง

ราชคฤห์ ในคราวนั้นพระมหากัสสปเถระพักอยู่ในถ้ำปิผลิคูหา ท่านอาพาธ(ป่วย)หนักไข้กำลัง

กำเริบ ในเย็นวันนั้นพระพุทธองค์เสด็จเยี่ยมท่านถึงถ้ำนั้น  ตรัสถามถึงผู้เฝ้าไข้ ตรัสถามถึงหมอ

แล้วถามพระมหากัสสปะถึงอาการไข้ว่า ยังพอทนได้อยู่หรือ ทุกขเวทนากล้าอยู่ หรือทุเลาลง

บ้าง เมื่อพระมหากัสปเถระกราบทูลว่า อาการไข้ทำท่าจะเหลือทนอยู่แล้ว ทุกขเวทนามีแต่จะ

กำเริบขึ้น ไม่มีทีท่าว่าจะทุเลาลงเลย พระพุทธองค์จึงทรงแสดงโพชฌงค์ทั้ง 7 ให้ท่านฟัง เมื่อ

ท่านได้ฟังจบแล้ว มีความปรีดาปราโมทย์ หายจากอาพาธเป็นปกติ ถวายบังึคมพระพุทธองค์

ด้วยความเคารพอย่างยิ่ง


-มหาโมคคัลลานสูตร มีบทนำทำนองเดียวกันว่า พระมหาโมคคัลลานเถระอาพาธ(ป่วย)หนักอยู่

ที่เขาคิชฌกูฏ พระพุทธองค์เสด็จเยี่ยม ตรัสถามถึงอาการไข้แล้วทรงแสดงโพชฌงค์ 7 ให้ฟัง

 ท่านฟังแล้วพิจารณาตามด้วยดี จบแล้วหายจากอาพาธเหมือนกัน


-มหาจุนทโพชฌงคสูตร ก็มีบทนำทำทองเดียวกันว่า เมื่อพระพุทธองค์ประทับอยู่ ณ วัดพระ

เวฬุวัน กรุงราชคฤห์ พระพุทธองค์ทรงพระประชวรหนัก อาการไข้กำเริบมิได้ทุเลาลงเลย มีแต่

จะกำเริบขึ้น พอพระจุทเถระเข้าไปเฝ้าเยี่ยมพระพุทธองค์ ได้นั่งเฝ้าอยู่ ยังไม่ทันได้กราบทูล

ถามถึงอาการประชวร พระพุทธองค์ก็โปรดให้พระจุนทเถระแสดงโพชฌงค์ที่พระองค์ได้แสดง

ไว้ดีแล้ว พระจุทเถระรับสนองพระพุทธฎีกา แสดงโพชฌงค์ 7 ถวายตามพระพุทธประสงค์ เมื่อ

ได้แสดงจบลงแล้ว พระพุทธองค์ทรงพอพระทัย ตรัสอนุโมทนาว่า โพชฌงค์ 7 นี้ดีนัก ทรงหาย

ประชวรในขณะนั้น


โพชฌงค์ทั้ง 3 สูตรนี้ โบราณนิยมนิมนต์พระสงฆ์ตั้งแต่ 5 รูปขึ้นไปสวดให้คนไข้หนักฟัง เรียก

กันว่า สวดต่อนาม บางคนหายไข้มีชีวิตยืนยาวต่อไปได้อีกนานๆ


3.อานิสงส์ โพชฌังคปริตร


บทสวดนี้มีความสำคัญที่พระสงฆ์นิยมนำมาสวดในงานทำบุญคล้ายวันเกิด หรือสวดเพื่อสร้าง

กำลังใจให้แก่ผู้ที่เจ็บไข้ได้ป่วยให้มีพลังจิตในการสร้างสติขึ้นซึ่งบทนี้จะเกิดอานุภาพมากหาก

ประกอบกับการบำเพ็ญจิตเจริญภาวนาควบคู่ไปด้วย


4.คำแปล โพชฌังคปริตร

4.1 คำแปลโดยอรรถ

โพชฌังโค สะติสังขาโต, ธัมมานัง วิจะโย ตะถา, วิริยัมปปสฺสัทธิ, โพชฌังคา จะ ตะถาปะเร, สะ

มาธุเปกขะโพชฌังคา , สัตเตเต สัพพะทัสสินา, มุนินา สัมมะทักขาตา, ภาวิตา พะหุลีกะตา

โพชฌงค์ 7 ประการ คือ สติสัมโพชฌงค์ ธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ ปีติสัม

โพชฌงค์ สัทสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันพระมุนีเจ้า ผู้เห็น

ธรรมทั้งสิ้น ตรัสไว้ชอบแล้ว อันบุคคลมาเจริญ ทำให้มากแล้ว

สังวัตตันติ อะภิญญายะ

ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้

เอเตน สัจเจนะ ด้วยการกล่วสัตย์นี้

โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา

ขอความสวัสดี จงมี แก่ท่าน ทุกเมื่อฯ

เอกัสมิง สะมะเย นาโถ

ในสมัยหนึ่ง พระโลกนาถเจ้า

โมคคัลลานัญจะ กัสสะปัง คิลาเนน ทุกขิเต ทิสวา

ทอดพระเนตร พระโมคคัลลานะ และพระกัสสปะ เป็นไข้ ถึงทุกขเวทนาแล้ว

โพชฌังเค สะตะ เทสะยิ

เต จะ ตัง อะภินันทิตวา

ท่านทั้งหลาย เพลิดเพลินภาษิตนั้น

โรคา มุจจิงสุ ตังขะเณ

หายโรคในขณะนั้น

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ

ด้วยการกล่าวสัตย์

โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา

ขอความสวัสดี จงมี แก่ท่าน ทุกเมื่อ

เอกะทา ธัมมะราชาปิ

ครั้งหนึ่ง แม้พระธรรมราชา(พระศาสดา)

เคลัญเญนาภิปีฬิโต

อันความประชวรเบียดเบียนแล้ว

จุนทัตเถเรนะ ตัญเญวะ,ภะณาเปตฺวานะ สาทะรัง

รับสั่งให้พระจุนทะเถระ แสดงโพชฌงค์นั้น โดยยินดี

สัมโมทิตวา จะ อาพาธา,ตัมหา วุฏฐาสิ ฐานะโส

ก็ทรงบันเทิงพระหฤทัยหายความประชวรไป โดยฐานะ

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ

ด้วยความกล่าวสัตย์นี้

โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา

ขอความสงัสดี จงมี แก่ท่าน ทุกเมื่อ

ปะหีนา เต จะ อาพาธา, ติณณัมนัมปิ มะเหสินัง

ก็อาพาธทั้งหลายนั้น อันพระมหาฤษีทั้ง 3 องค์ละได้แล้ว

มัคคาหะตะกิเลสาวะ, ปัตตานุปัตติธัมมะตัง

ถึงความไม่บังเกิดเป็นธรรมดา ดุจกิเลสอันมรรคกำจัดแล้ว

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ

ด้วยความกล่าวสัตย์นี้

โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา

ขอความสวัสดี จงมี แก่ท่าน ทุกเมื่อ ฯ

4.2 คำแปลโดยยกศัพท์

โพชฌังโค สะติสังขาโต, ธัมมานัง วิจะโย ตะถา, วิริยัมปปัสสัทธิ, โพชฌังคา จะ ตะถาปะเร, สะ

มาธุเปกขะโพชฌังคา , สัตเตเต สัพพะทัสสินา, มุนินา สัมมะทักขาตา, ภาวิตา พะหุลีกะตา

(สัตเตเต) สัตเต เอเต โพชฌังคา อันว่าโพชฌงค์ทั้งหลาย 7 เหล่านี้ อิติ คือ สติสังขาโต

 โพชฌังโค อันว่าสติโพชฌงค์ ตะถา อนึ่ง ธัมมานัง วิจะโย โพชฌังโค อันว่าวิจยโพชฌงค์ ตถา

 อนึ่ง โพชฌังคา อันว่า โพชฌงค์ทั้งหลาย อะปะเร อย่างอื่น (อีก 2) คือ วิริยัมปัสสัทธิ ( วิริโย

 โพชฌังโค, ปัสสัทธิ โพชฌังโค) อันว่าวิริยโพชฌงค์ อันว่าปัสสัทธิโพชฌงค์ สะมาธุเปกขะ

โพชฌังคา อันว่าสมาธิโพชฌงค์ และอุเบกขาโพชฌงค์ทั้งหลาย มุนินา สัมมะทักขาตา เป็นน

ธรรมอันพระมุนี(พระพุทธเจ้า)ตรัสไว้โดยชอบแล้ว ปุคคะเลนะ ภวิตา เป็นธรรมอันบุคคลเจริญ

แล้ว ปุคคะเลนะ พะหุลีกะตา เป็นธรรมอันบุคคลกระทำให้มากแล้ว หุตวา เป็น

สังวัตตันติ อะภิญญายะ

สังวัตตันติ ย่อมเป็นไป อะภิญญายะ เพื่อความตรัสรู้

เอเตน สัจจะวัชเชนะ

สัจเจนะ ด้วยการกล่าวคำสัตย์ เอเตนะนี้

โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา

โสตถิ อันว่าความสวัสดี โหตุ จงมี เต แก่ท่านสัพพทา ในกาลทุกเมื่อฯ

เอกัสมิง สะมะเย นาโถ

จะ อนึ่ง สมเย ในสมัย เอกัสมิง หนึ่ง นาโถ อันว่าพระโลกนาถเจ้า

โมคคัลลานัญจะ กัสสะปัง คิลาเนน ทุกขิเต ทิสวา

ทิสวา(ทอดพระเนตร) เห็นแล้ว โมคคัลลานัง จะ กัสสะปัง จะ ซึ่งพระโมคคัลลานะด้วย กัสสะปัง

 จะ ซึ่งพระกัสสปะด้วย คิลาเนะ ทุกขิเต ผู้ถึงแล้วซึ่งทุกข์ ด้วยความป่วยไข้

โพชฌังเค สะตะ เทสะยิ

เทสะยิ ทรงแสดงแล้ว โพชฌังเค ซึ่งโพชฌงค์ทั้งหลาย สัตตะ 7 อย่าง

เต จะ ตัง อะภินันทิตวา

จะ ก็ เต เทฺว เถรา อันว่าพระเถระ 2 รูป เหล่านั้น อภินันทิตวา เพลิดเพลินแล้ว ตัง เทสะนัง ซึ่ง พระธรรมเทศนานั้น

โรคา มุจจิงสุ ตังขะเณ

โรคา อันว่าโรคทั้งหลาย มุจจิงสุ หายไปแล้ว ตังขะเณ ในขณะนั้น

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ

สัจจะวัชเชนะ ด้วยการกล่าวซึ่งคำสัตย์ เอเตนะ นี้

โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา

โสตถิ อันว่าความสวัสดี โหตุ จงมี เต แก่ท่าน สัพพะทา ในกาลทุกเมื่อ

เอกะทา ธัมมะราชาปิ

เอกะทา ในกาลครั้งหนึ่ง ธัมมะราชาปิ แม้อันว่าพระธรรมราชา(พระพุทธเจ้า)

เคลัญเญนาภิปีฬิโต

(เคลัญเญนะ อภิปีฬิโต) ผู้อันความอาพาธเบียดเบียนแล้ว

จุนทัตเถเรนะ ตัญเญวะ,ภะณาเปตฺวานะ สาทะรัง

จุนทัตเถเรนะ ยังพระเถระชื่อว่าจุนทะ ภะณาเปตฺวานะ ให้กล่าวแล้ว ตัง เอวะ โพชฌังคะกถัง ซึ่ง

กถาว่าด้วยโพชฌงค์นั้นนั่นเทียว สาทะรัง โดยยินดี

สัมโมทิตวา จะ อาพาธา,ตัมหา วุฏฐาสิ ฐานะโส

สัมโมทิตวา ทรงบันเทิงแล้ว วุฏฐาสิ ทรงหายแล้ว อาพาธา จากอาพาธ ตัมหา นั้น ฐานะโส โดยฐานะ

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ

สัจจะวัชเชนะ ด้วยการกล่าวซึ่งคำสัตย์ เอเตนะ นี้

โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา

โสตถิ อันว่าความสวัสดี โหตุ จงมี จงมี เต แก่ท่าน แก่ท่าน สัพพะทา ในกาลทุกเมื่อ

ปะหีนา เต จะ อาพาธา, ติณณัมนัมปิ มะเหสินัง

จะ ก็ อาพาธา อันว่าอาพาธทั้งหลาย เต เหล่านั้น มเหสินัง อันผู้แสวงหาซึ่งคุณอันใหญ่ทั้งหลาย ติณณันนัมปิ แม้สามรูป ปะหีนา ละได้แล้ว

มัคคาหะตะกิเลสาวะ, ปัตตานุปัตติธัมมะตัง

(เต มะเหสิโน อันว่าผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ เหล่านั้น) คัจฉันติ ย่อมถึง ปัตตานุปปัตติธัมมะตัง

 ซึ่งความไม่บังเกิดเป็นธรรมดา มัคคาหะตะกิเลสา อิวะ ราวกะ อันว่ากิเลสอันมรรคกำจัดแล้ว

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ

สัจจะวัชเชน ด้วยการกล่าวคำสัตย์ เอเตนะ นี้

โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา

โสตถิ อันว่าความสวัสดี โหตุ จงมี เต แก่ท่าน สัพพะทา ในกาลทุกเมื่อ ฯ


5.เสียงสวด โพชฌังคปริตร

https://youtu.be/AUXGAdAr9yk


Google

Custom Search