ยินดีต้อนรับสู่เว็บ สวดมนต์เจ็ดตำนาน พร้อมทั้งตำนาน อานิสงส์ คำแปลและเสียงสวด ด้วยความยินดียิ่ง แวะเข้ามาเยี่ยมชมบ่อยๆนะครับ

Saturday, September 24, 2022

บทสวดมนต์ โมรปริตร พร้อมตำนาน อานิสงส์ คำแปล และเสียงสวด

 


บทสวดมนต์ โมรปริตร พร้อมตำนาน อานิสงส์ คำแปล และเสียงสวด


ที่นำมาเสนอประกอบด้วยส่วนสำคัญ 5 ส่วน คือ 1.บทสวด โมรปริตร 2.ตำนานโมรปริตร

 3.อานิสงส์ โมรปริตร 4.คำแปลโมรปริตร และ 5.เสียงสวด โมรปริตร ตามลำดับดังนี้


1.บทสวด โมรปริตร


อุเทตะยัญจักขุมา เอกะราชา

หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส

ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง

ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ ทิวะสัง

เย พ๎ราห๎มะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม

เต เม นะโม เต จะ มัง ปาละยันตุ

นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา

นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา

อิมัง โส ปะริตตัง กัต๎วา โมโร จะระติ เอสะนา ฯ

 

อะเปตะยัญจักขุมา เอกะราชา

หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส

ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง

ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ รัตติง

เย พ๎ราห๎มะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม

เต เม นะโม เต จะ มัง ปาละยันตุ

นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา

นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา

อิมัง โส ปะริตตัง กัต๎วา โมโร วาสะมะกัปปะยีติ ฯ


2.ตำนาน โมรปริตร


มีตำนานว่า ในรัชสมัยของพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในพระนครพาราณสี ครั้งอดีตกาล

พระโพธิสัตว์เกิดเป็นนกยูง มีสีขนเหมือนทอง งดงามน่ารัก มีริ้วสีแดงเป็นเส้นงามอยู่ใต้ปีกทั้ง

สองข้าง อาศัยอยู่ ณที่ราบบนภูเขาทัณฑกหิรัญเทือกเขาลูกที่ 4 ตั้งอยู่ในดงลึกเลยเทือกเขา

อื่นเข้าไป 3 ลูก


นกยูงทองนั้นระวังรักษาชีวิตของตนเป็นอย่างดี และเพื่อคุ้มครองป้องกันตัวในขณะออกหากิน

ในกลางวัน ทุกรุ่งเช้านกยูงทองจะขึ้นไปบนยอดเขาสูงเฝ้ามองดวงอาทิตย์กำลังขึ้นสู่ท้องฟ้า

 แล้วผูกพระปริตรเป็นพรหมมนต์ขึ้นกล่าวนมัสการพระพุทธเจ้าทั้งหลายซึ่งเสด็จนิพพานแล้ว

 พร้อมทั้งพระคุณของพระองค์ด้วย เสร็จแล้วจึงออกเที่ยวหาอาหาร


เมื่อเที่ยวหาอาหารไปตลอดวันแล้ว ครั้นตกถึงเย็นนกยูงทองนั้นจะกลับมาและขึ้นไปอยู่บนยอด

เขาสูง เฝ้ามองดวงอาทิตย์กำลังตกดิน แล้วผูกพรหมมนต์ขึ้นกล่าวนมัสการดวงอาทิตย์ที่กำลัง

อัสดง และกล่าวนมัสการพระพุทธเจ้าทั้งหลายซึ่งปรินิพพานแล้วพร้อมทั้งพระคุณของพระองค์

เหล่านั้นด้วย แล้วเข้าพักนอน ด้วยอานุภาพของพระปริตรที่กล่าวนมัสการอยู่ทุกเช้าเย็นเช่นนี้

 นกยูงทองก็อยู่เป็นสุขและปลอดภัยมาช้านาน


ครั้นต่อมาภายหลังมีนายพรานผู้หนึ่งอยู่ในหมู่บ้านพรานใกล้พระนครพาราณสี ท่องเที่ยวไปใน

ป่าหิมพานต์ ไปใด้เห็นนกยูงทองบนภูเขาทัณฑกหิรัญนั้น เมื่อกลับมาบ้านจึงเล่าให้ลูกชายของ

ตนฟัง และต่อมาพระนางเขมามเหสีของพระเจ้าพาราณสีทรงพระสุบิน(ฝัน) เห็นนกยูงทอง

แสดงธรรมถวายแก่พระนาง ครั้นตื่นบรรทมก็กราบทูลพระเจ้าพาราณสีให้ทรงทราบ แล้วกราบ

ทูลวิงวอนว่า พระนางปรารถนาจะได้สดับธรรมของนกยูงทองเหมือนดังในความฝัน


พระเจ้าพาราณสีจึงโปรดให้ประชุมหมู่อำมาตย์แล้วตรัสถามถึงเรื่องนี้ พวกอำมาตย์กราบทูลว่า

 เรื่องนี้พวกพราหมณ์คงจะทราบ จึงตรัสถามพวกพราหมณ์ไป พวกพราหมณ์ก็กราบทูลว่า เคย

ได้ยินว่านกยูงทองนั้นมีอยู่จริง แต่จะอยู่ที่ไหนนั้นพวกนายพรานคงทราบ


พระเจ้าพาราณสีจึงตรัสสั่งให้เรียกนายพรานทั้งหลายมาประชุม แล้วทรงมีพระราชดำรัสถาม

 บุตรของนายพรานผู้ทราบเรื่อง นี้จึงกราบทูลว่า “ขอเดชะ นกยูงทองนั้นอาศัยอยู่บนภูเขา

ทัณฑกหิรัญ พะยะต่ะ”


พระเจ้าพาราณสีจึงตรัสสั่งนายพราน “ให้ไปจับเป็นมา อย่าฆ่าให้ตาย” นายพรานก็ได้เดินทาง

เข้าไปทอดบ่วงดักตามสถานที่นกยูงทองออกหากิน แต่แม้ว่านกยูงทองจะเหยียบบ่วงที่พราน

ดักไว้บ่วงก็ไม่คล้องเท้า นายพรานพยายามดักอยู่ 7 ปีก็จับนกยูงทองไม่ได้จนตัวเองตายอยู่ใน

ป่า และพระนางเขมาก็มิได้ทรงสดับพระธรรมจนสิ้นพระชนม์


พระเจ้าพาราณสีจึงทรงอาฆาตว่า พระมเหสีของพระองค์สิ้นพระชนม์เพราะนกยูง จึงโปรดให้

จารึกอักขระลงลานทองไว้ว่า “ในแถบป่าหิมพานต์ มีภูเขาชื่อทัณฑกหิรัญ มีนกยูงทองอาศัย

อยู่ที่ภูเขานั้น ผู้ใดได้กินเนื้อของนกยูงทอง ผู้นั้นจะไม่แก่ตายและมีอายุยืน” แล้วโปรดให้บรรจุ

ลานทองจารึกนั้นใส่ผอบสุวรรณ(ทอง)เก็บรักษาไว้


เมื่อพระเจ้าพาราณสพระองค์นั้นสิ้นพระขนม์แล้ว พระราชาองค์อื่นสืบราชสมบัติต่อมา ได้ทรง

อ่านจารึกลานทองนั้น ก็มีพระราชประสงค์จักไม่แก่ไม่ตายบ้าง จึงโปรดส่งนายพรานอีกคนหนึ่ง

ไปจับนกยูงทอง นายพรานนั้นไปพยายามจับอยู่หลายปีก็จับไม่ได้จนตัวตายในป่า เป็นดังนี้มา

ถึง 6 ชั่วพระราชาก็ยังจับนกยูงทองไม่ได้


ครั้นมาถึงรัชกาลของพระเจ้าพาราณสีองค์ที่ 7 ก็โปรดเกล้าฯส่งนายพรานอีกคนหนึ่งไปจับ นาย

พรานผู้นี้รู้เรื่องว่าที่นกยูงทองเหยียบบ่วงแล้วไม่คล้องขานั้น ก็เพราะว่านกยูงทองร่ายปริตร

ป้องกันตัวก่อนออกหากิน นายพรานจึงจับนกยูงตัวเมียมาตัวหนึ่ง เอามาฝึกหัดให้รำแพนและ

ส่งเสียงขับร้องจนชำนาญดีแล้วก็จึงนำเอาไปด้วย


พอรุ่งเช้าก่อนที่นกยูงทองจะร่ายพระปริตรนายพรานได้ปักหลักทอดบ่วงไว้เสร็จ แล้วให้นางนก

ยูงรำแพนส่งเสียงขับร้องขึ้น ฝ่ายนกยูงทองได้ยินเสียงมาตุคาม(นกยูงตัวเมีย) ก็มีใจเร่าร้อน

ด้วยไฟราคะ ไม่สามารถร่ายพระปริตรได้เช่นเคย รีบแล่นถลันไปหาเลยติดบ่วง นายพรานจึงจับ

ตัวได้พาไปถวายพระเจ้าพาราณสี พระเจ้าพาราณสีทอดพระเนตรเห็นรูปสมบัติก็ชอบพระทัย

 โปรดให้จัดอาสนะมาประทานแก่นกยูงทอง


พระโพธิสัตว์ขึ้นจับบนอาสนะที่จัดไว้แล้วทูลถามว่า “มหาราชะ เหตุไรพระองค์จึงตรัสสั่งให้ไปจับข้าพเจ้ามา”


พระเจ้าพาราณสีตรัสว่า “เขาว่าผู้ใดได้กินเนื้อของท่าน ผู้นั้นจะไม่แก่ไม่ตาย เพราะฉะนั้นฉันก็

อยากจะกินเนื้อท่านแล้วจะได้ไม่แก่ไม่ตายบ้าง จึงให้ไปจับท่านมา”


นกยูงทองจึงทูลว่า “ผู้ที่กินเนื้อของข้าพเจ้าแล้วไม่แก่ไม่ตาย แต่ตัวข้าพเจ้าต้องตาย”

พระราชาตรัสว่า” ถูกแล้ว ท่านต้องตาย”


นกยูงทองจึงว่า “ก็เมื่อข้าพเจ้าเองยังตาย แล้วทำไมคนที่กินเนื้อของข้าพเจ้าจักไม่ตาย”


พระราชาตรัสว่า “เพราะท่านมีสีเหมือนทอง คนที่กินเนื้อท่านแล้วก็จักไม่ตาย”


นกยูงทองทูลว่า “มหาราชะ การที่ข้าพเจ้าเกิดมามีสีเหมือนทองนั้น ไม่ใช่ว่าไม่มีเหตุผล ใน

ชาติก่อนข้าพเจ้าเคยเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ อยู่ในพระนครแห่งนี้แหละ ตัวข้าพเจ้ารักษาศีล 5

และชักชวนประชาชนทั่วทั้งจักรวาลให้รักษาศีล 5 ด้วย ครั้นตายแล้วข้าพเจ้าไปเกิดในภพดาว

ดิงส์จนตลอดอายุจึงจุติจากนั้น ด้วยอกุศลกรรมบางอย่างจึงมาเกิดเป็นนกยูง แต่ด้วยอานุภาพ

ของศีล 5 ในครั้งก่อนจึงมีสีเหมือนสีทอง”


พระเจ้าพาราณาสีจึงตรัสว่า “ที่ท่านพูดว่าท่านเคยเป็นพระเจ้าจักรพรรดิรักษาศีล 5 แล้วมาเกิด

เป็นกยูงทองด้วยผลของศีล 5 นั้น เราจะเชื่อได้อย่างไร มีใครเป็นพยานบ้าง”


นกยูงทูลว่า “มีสิ มหาราชะ”  “คือใคร”  “มหาราชะ เมื่อข้าพเจ้าเป็นพระเจ้าจักรพรรดินั้น เคยนั่ง

รถประดับด้วยรัตนะ 7 ประการ ท่องเที่ยวไปในอากาศ รถคั้นนั้นเวลานี้ฝังอยู่ใต้สระมงคล

โบกขรณี โปรดให้ขุดขึ้นมา จะได้เป็นสักขีพยานของข้าพเจ้า”


พระเจ้าพาราณสีจึงตรัสสั่งให้ไขน้ำออกจากสระแล้วให้นำเอารถนั้นขึ้นมา ครั้นพระราชาทอด

พระเนตรเห็น ก็ทรงเชื่อคำของพระโพธิสัตว์(นกยูงทอง)


พระโพธิสัตว์จึงแสดงธรรมถวายแก่พระเจ้าพาราณสีเป็นใจความว่า “ดูก่อนมหาราชะ นอกจาก

อมตมหานิพพานแล้ว สิ่งทั้งหลายนอกนั้น ล้วนเป็นสิ่งผสมปรุงแต่งขึ้น เป็นของไม่ยั่งยืนถาวร

 เพราะมีขึ้นแล้วก็ไม่มี เป็นของสิ้นไปเสื่อมไปโดยธรรมชาติ “ แล้วทูลให้พระเจ้าพาราณสีทรง

รักษาศีล 5 พระเจ้าพาราณสีจึงทรงยกราชสมบัติมอบให้แก่พระโพธิสัตว์ แล้วทรงทำสักการะ

แก่พระโพธิสัตว์เป็นการใหญ่ พระโพธิสัตว์รับราชสมบัติไว้แล้วกลับถวายคืนแก่พระเจ้าพา

ราณาสี เมื่อพักอยู่สองสามคืนแล้วถวายโอวาทกำชับว่า “ขอพระองค์อย่าทรงประมาท” แล้วบิน

ขึ้นสู่อากาศ กลับไปยังภูเขาทัณฑกหิรัญตามเดิม


3.อานิสงส์ของ โมรปริตร


โมรปริตรนี้ เป็นบทสวดเพื่อป้องกันภยันตรายต่างๆ


4.คำแปลของ โมรปริตร


4.1 คำแปลโดยอรรถ

#อุเทตะยัญจักขุมา เอกะราชา, หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส

พระอาทิตย์เป็นดวงตาของโลก เป็นเอกราช มีสีเพียงดังสีแห่งทอง ยังพื้นปฐพีให้สว่างอุทัยขึ้นมา

#ตัง ตัง นะมัสสามิ

เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระอาทิตย์นั้น

#หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง

ซึ่งมีสีเพียงดังสีแห่งทอง ยังพื้นปฐพีให้สว่าง

#ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ ทิวะสัง

ช้าพเจ้าทั้งหลาย อันท่านคุ้มครองแล้วในวันนี้ พึงอยู่เป็นสุข ตลอดวัน

#เย พ๎ราห๎มะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม

พราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใด ผู้ถึงซึ่งเวทในธรรมทั้งปวง

#เต เม นะโม

พราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น จงรับความนอบน้อมของข้าพเจ้า

#เต จะ มัง ปาละยันตุ

อนึ่ง พราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น  จงรักษาซึ่งข้าพเจ้า

#นะมัตถุ พุทธานัง

ความนอบน้อมของข้าพเจ้า จงมีแด่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย

#นะโม วิมุตตานัง

ความนอบน้อมของข้าพเจ้า จงมีแด่ท่านผู้หลุดพ้นแล้วทั้งหลาย

#นะโม วิมุตติยา

ความนอบน้อมของข้าพเจ้า จงมีแด่วิมุตติธรรม

#อิมัง โส ปะริตตัง กัต๎วา. โมโร จะระติ เอสะนา.

นกยูงนั้นได้กระทำปริตรอันนี้แล้ว จึงเที่ยวไป เพื่ออันแสวงหาอาหารฯ

#อะเปตะยัญจักขุมา เอกะราชา, หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส

พระอาทิตย์นี้ เป็นดวงตาของโลก  เป็นเอกราช มีสีเพียงดังสีแห่งทอง ยังพื้นปฐพีสว่าง ย่อม

อัสดงคตไป

#ตัง ตัง นะมัสสามิ

เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระอาทิตย์นั้น

#หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง

ซึ่งมีสีเพียงดังสีแห่งทอง ยังพื้นปฐพีให้สว่าง

#ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ รัตติง

ข้าพเจ้าทั้งหลาย อันท่านคุ้มครองแล้วในวันนี้ พึงอยู่เป็นสุข ตลอดคืน

#เย พ๎ราห๎มะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม

พราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใด ผู้ถึงซึ่งเวทในธรรมทั้งปวง

#เต เม นะโม

พราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น จงรับความนอบน้อมของข้าพเจ้า

#เต จะ มัง ปาละยันตุ

อนึ่ง พราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น  จงรักษาซึ่งข้าพเจ้า

#นะมัตถุ พุทธานัง

ความนอบน้อมของข้าพเจ้า จงมีแด่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย

#นะมัตถุ โพธิยา

ความนอบน้อมของข้าพเจ้า จงมีแด่พระโพธิญาณ

#นะโม วิมุตตานัง

ความนอบน้อมของข้าพเจ้า จงมีแด่ท่านผู้หลุดพ้นทั้งหลาย

#นะโม วิมุตติยา

ความนอบน้อมของข้าพเจ้า จงมีแด่วิมุตติธรรม

#อิมัง โส ปะริตตัง กัต๎วา โมโร,วาสะนะกัปปะยีติ

นกยูงนั้นได้กระทำปริตรอันนี้แล้ว จึงสำเร็จความอยู่แลฯ


4.2 คำแปลโดยยกศัพท์


#อุเทตะยัญจักขุมา เอกะราชา, หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส

สุริโย อันว่าพระอาทิตย์ อะยัง นี้ จักขุมา เป็นดวงตา (โลกัสสะ แห่งโลก) เอกะราชา เป็นผู้มีเอกราช หะริสสะวัณโณ เป็นผู้มีสีเพียงดังสีแห่งทอง ปะฐะวิปปะภาโส เป็นผู้ยังพื้นปฐพีให้สว่างอุทัยขึ้นมา โหติ ย่อมเป็น

#ตัง ตัง นะมัสสามิ

(ตัง)ตัสมา เพราะเหตุนั้น อะหัง อันว่าข้าพเจ้า นะมัสสามิ นอบน้อมอยู่ ตัง สุริยัง ซึ่งพระอาทิตย์นั้น

#หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง

หะริสสะวัณณัง ผู้มีสีเพียงดังสีแห่งทอง ปะฐะวิปปะภาสัง ผู้ยังพื้นปฐพีให้สว่าง

#ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ ทิวะสัง

มะยัง อันว่าช้าพเจ้าทั้งหลาย เต อัชชะ คุตตา เป็นผู้อันท่านคุ้มครองแล้ว ในวันนี้ หุตฺวา เป็น วิหเรมุ(วิหะเรยยามะ) พึงอยู่ สุขัง เป็นสุข ทิวะสัง ตลอดวัน

#เย พ๎ราห๎มะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม

พราหมะณา อันว่าพราหมณ์ทั้งหลาย เย เหล่าใด เวทคู เป็นผู้ถึงซึ่งฝั่งแห่งพระเวท(เป็นพระอรหันต์) สัพพะธัมเม ในธรรมทั้งปวง โหนติ ย่อมเป็น

#เต เม นะโม

เต พราหมะณา อันว่าพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น ปะฏิจฉันตุ จงรับ นมการัง (นะโม) ซึ่งความนอบน้อม อิมัง นี้ เม ของข้าพเจ้า

#เต จะ มัง ปาละยันตุ

จะ อนึ่ง เต พราหมะณา อันว่าพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น ปาละยันตุ จงรักษา มัง ซึ่งข้าพเจ้า

#นะมัตถุ พุทธานัง

นะมัตถุ อันว่าความนอบน้อม เม ของข้าพเจ้า อัตถุ จงมี พุทธานัง แด่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย

#นะโม วิมุตตานัง

นะโม อันว่าความนอบน้อม เม ของข้าพเจ้า อตฺถุ จงมี วิมุตตานัง แด่(แก่)ท่านผู้หลุดพ้นแล้วทั้งหลาย

#นะโม วิมุตติยา

นะโม อันว่าความนอบน้อม เม ของข้าพเจ้า อัตถุ จงมี วิมุตติยา แด่(แก่)วิมุตติธรรม

#อิมัง โส ปะริตตัง กัต๎วา, โมโร จะระติ เอสะนา.

โส โมโร อันว่านกยูงนั้น กัตวา กระทำแล้ว ปะริตตัง ซึ่งปริตร อิมัง อันนี้ จะริตวา เที่ยวไปแล้ว เอสะนา เพื่ออันแสวงหาอาหารฯ

#อะเปตะยัญจักขุมา เอกะราชา, หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส

อะยัง สุริโย อันว่าพระอาทิตย์นี้ จักขุมา เป็นผู้เป็นดวงตา โลกัสสะ ของโลก เอกะราชา เป็นผู้มีเอกราช หะริสสะวัณโณ เป็นผู้มีสีเพียงดังสีแห่งทอง ปะฐะวิปปะภาโส เป็นผู้ยังพื้นปฐพีสว่าง หุตฺวา เป็น อะเปติ ย่อมอัสดงคตไป

#ตัง ตัง นะมัสสามิ

(ตัง) ตสฺมา เพราะเหตุนั้น อะหัง อันว่าข้าพเจ้า นะมัสสะมานิ นอบน้อมอยู่ ตํ สุริยัง ซึ่งพระอาทิตย์ดวงนั้น

#หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง

หะริสสะวัณณัง ผู้มีสีเพียงดังสีแห่งทอง ปะฐะวิปปะภาสัง ผู้ยังพื้นปฐพีให้สว่าง

#ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ รัตติง

มะยัง อันว่าข้าพเจ้าทั้งหลาย อัชชะ เต คุตตา เป็นผู้อันท่านคุ้มครองแล้ว ในวันนี้ หุตฺวา เป็น วิหะเรมุ (วิหะเรยยามะ) พึงอยู่ สุขัง เป็นสุข รัตติง ตลอดคืน

#เย พ๎ราห๎มะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม

พราหมะณา อันว่าพราหมณ์ทั้งหลาย เย เหล่าใด เวทคู เป็นผู้ถึงซึ่งฝั่งแห่งพระเวท(เป็นพระอรหันต์) สัพพะธัมเม ในธรรมทั้งปวง โหนติ ย่อมเป็น

#เต เม นะโม

เต พราหมะณา อันว่าพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น ปะฏิจฉันตุ จงรับ นะโม(นะมะการัง) ซึ่งความนอบน้อม อิมัง นี้ เม ของข้าพเจ้า

#เต จะ มัง ปาละยันตุ

จะ อนึ่ง เต พราหมะณา อันว่าพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น ปาละยันตุ จงรักษา มัง ซึ่งข้าพเจ้า

#นะมัตถุ พุทธานัง

นะมัตถุ อันว่าความนอบน้อม เม ของข้าพเจ้า อัตถุ จงมี พุทธานัง แด่(แก่)พระพุทธเจ้าทั้งหลาย

#นะโม วิมุตตานัง

นะโม อันว่าความนอบน้อม เม ของข้าพเจ้า อตฺถุ จงมี วิมุตตานัง แด่(แก่)ท่านผู้หลุดพ้นแล้วทั้งหลาย

#นะโม วิมุตติยา

นะโม อันว่าความนอบน้อม เม ของข้าพเจ้า อัตถุ จงมี วิมุตติยา แด่(แก่)วิมุตติธรรม

#อิมัง โส ปะริตตัง กัต๎วา, โมโร วาสะนะกัปปะยีติฯ

โมโร อันว่านกยูง โส ตัวนั้น กัตวา กระทำแล้ว ปะริตตัง ซึ่งปริตร อิมัง นี้ กัปปะยิ สำเร็จแล้ว วาสะนัง ซึ่งความอยู่ อิติ ด้วยประการฉะนี้ฯ


5.เสียงสวด โมรปริตร

https://youtu.be/sgebAVpb9lc


No comments:

Post a Comment

Google

Custom Search