ยินดีต้อนรับสู่เว็บ สวดมนต์เจ็ดตำนาน พร้อมทั้งตำนาน อานิสงส์ คำแปลและเสียงสวด ด้วยความยินดียิ่ง แวะเข้ามาเยี่ยมชมบ่อยๆนะครับ

Monday, September 12, 2022

บทสวดมนต์ มงคลสูตร พร้อมกับตำนาน อานิสงส์ คำแปล และเสียงสวด

 


มงคลสูตร

1.บทสวดมงคลสูตร

อะเสวะนา จะ พาลานัง........ ปัณฑิตานัญจะ เสวะนา

ปูชา จะ ปูชะนียานัง............. เอตัมมังคะละมุตตะมัง.

ปะฏิรูปะเทสะวาโส จะ......... ปุพเพ จะ กะตะปุญญะตา

อัตตะสัมมาปะณิธิ .................จะ เอตัมมังคะละมุตตะมัง.

พาหุสัจจัญจะ สิปปัญจะ ........วินะโย จะ สุสิกขิโต

สุภาสิตา จะ ยา วาจา ..............เอตัมมังคะละมุตตะมัง.

มาตาปิตุอุปัฏฐานัง................. ปุตตะทารัสสะ สังคะโห

อะนากุลา จะ กัมมันตา ...........เอตัมมังคะละมุตตะมัง.

ทานัญจะ ธัมมะจะริยา จะ....... ญาตะกานัญจะ สังคะโห

อะนะวัชชานิ กัมมานิ.............. เอตัมมังคะละมุตตะมัง.

อาระตี วิระตี ปาปา................. มัชชะปานา จะ สัญญะโม

อัปปะมาโท จะ ธัมเมสุ........... เอตัมมังคะละมุตตะมัง.

คาระโว จะ นิวาโต จะ............ สันตุฏฐี จะ กะตัญญุตา

กาเลนะ ธัมมัสสะวะนัง........... เอตัมมังคะละมุตตะมัง.

ขันตี จะ โสวะจัสสะตา............สะมะณานัญจะ ทัสสะนัง

กาเลนะ ธัมมะสากัจฉา............ เอตัมมังคะละมุตตะมัง.

ตะโป จะ พ๎รัห๎มะจะริยัญจะ.....อะริยะสัจจานะ ทัสสะนัง

นิพพานะสัจฉิกิริยา จะ ............เอตัมมังคะละมุตตะมัง.

ผุฏฐัสสะ โลกะธัมเมหิ............ จิตตัง ยัสสะ นะ กัมปะติ

อะโสกัง วิระชัง เขมัง .............. เอตัมมังคะละมุตตะมัง.

เอตาทิสานิ กัต๎วานะ ............... สัพพัตถะมะปะราชิตา

สัพพัตถะ โสตถิง คัจฉันติ ....... ตันเตสัง มังคะละมุตตะมันติ.

2.ตำนานมงคลสูตร

ท่านเล่าว่า ก่อนพระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติในโลก เกิดปัญหาเกี่ยวกับมงคลขึ้นว่า อะไรเป็นมงคล และใครรู้จักมงคล ปัญหานี้ได้แพร่กระจายไปทั่วชมพูทวีป ผู้คนต่างแตกตื่นกันเป็นโกลาหล ปัญหานี้เมื่อไปถึงไหน คนก็จับกลุ่มสนทนากัน โต้เถียงกัน ต่างแสดงความคิดความเห็นของตัวเองออกมา บางคนก็พูดว่ารูปที่ตาเห็นเป็นมงคล บางคนก็ว่าเสียงที่หูได้ยินนี่แหละเป็นมคล บางคนก็ว่ากลิ่นที่จมูกได้สูดดมนี่แหละเป็นมงคล บางคนก็ว่ารสที่ลิ้นได้ลิ้มนี่แหละเป็นมงคล บางคนก็ว่าวัตถุที่ตนได้สัมผัสนี่แหละเป็นมงคล  ต่างคนต่างก็โต้เถียงกันยกเว้นก็แต่พระอริยสาวกเท่านั้น คนในขณะนั้นแตกแยกกันเป็น 3 พวก พวกหนึ่งถือข้างทิฏฐมงคล (รูปที่เห็นด้วยตาเป็นมงคล)พวกหนึ่งถือข้างสุตมงคล (เสียงที่ได้ยินเป็นมงคล) พวกหนึ่งถือข้างมุตมงคล (อารมณ์ที่รับทราบ(เช่น กลิ่นดี เสียงดี) เป็นมงคล)  ต่างคนต่างก็ว่าของตนถูกของคนอื่นผิด ตกลงกันไม่ได้และไม่มีใครวินิจฉัยเด็ดขาดลงไปได้

ครั้งนั้น เทวดาชั้นสุทธาวาสรู้วาระจิตของคนในชมพูทวีป จึงเที่ยวไปในชุมพูทวีป ป่าวประกาศแก่ประชาชนว่าอีก 12 ปีพระพุทธเจ้าจะมาตรัสมงคล พอครบ 12 ปีเทวดาชั้นดาวดึงส์จึงมาประชุมกัน พากันไปเฝ้าท้าวสักกเทวราช จอมเทพท้าวสักกเทวราชตรัสถามว่า พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่ไหน เมื่อทรงทราบว่าพระพุทธองค์ประทับอยู่ที่พระเชตวันกรุงสาวัตถีแล้ว จึงนำหมู่เทวดาพากันไปเฝ้าพระพุทธเจ้า เมื่อได้โอกาสจึงให้เทวบุตรองค์หนึ่งเป็นผู้กราบทูลถามมงคล พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสมงคล 38 ประการ มีการไม่คบคนพลาลเป็นต้น ดังที่ปรากฏในมงคลสูตรนั้นแล้ว และกล่าวได้อีกอย่างหนึ่ว่า มงคลสูตรนี้สูตรเดียวเท่านั้นที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงข้อธรรมตั้งแต่ต้นจนถึงนิพพาน

3.อานิสงส์ของมงคลศุตร

บทมงคลสูตร มีความหมายว่า พระสูตรว่าด้วยมงคลแห่งชีวิต การนำมงคลสูตรมาสวด ก็เพื่อจะทำให้มงคลต่างๆ ตามที่ปรากฏในพระสูตร เกิดขึ้นกับชีวิตของผู้สวดและผู้ฟังสวด นอกจากนั้น มงคลสูตร ยังมีอานุภาพในการป้องกันภัยอันตรายอันจะเกิดจากความไม่เที่ยงธรรม ของเหล่าคนพาลสันดานหยาบทั้งหลาย และมีผู้ทราบถึงอานิสงส์ของมงคลสูตรดีกล่าวว่าเหมาะกับหญิงมีครรภ์ใช้สวดเพื่อให้บตรที่อยู่ในครรภ์ของตนเกิดมามีอาการครบ 32 และมีปัญญาเฉียบแหลมเฉลียวฉลาด

4.คำแปลมงคลสูตร

=====================

4.1 คำแปลมงคลสูตรโดยอรรถ

=====================

อะเสวะนา จะ พาลานัง

ความไม่คบชนพาลทั้งหลาย 1

ปัณฑิตานัญจะ เสวะนา

ความคบบัณฑิตทั้งหลาย 1

ปูชา จะ ปูชะนียานัง

ความบูชาชนควรบูชาทั้งหลาย 1

เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ

ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด

ปะฏิรูปะเทสะวาโส จะ

ปะฏิรูปะเทสะวาโส จะ

ความอยู่ในประเทศอันสมควร 1

ปุพเพ จะ กะตะปุญญะตา

ความเป็นผู้มีบุญอันทำแล้วในกาลก่อน 1

อัตตะสัมมาปะณิธิ จะ

ความตั้งตนไว้ชอบ 1

เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ

ช้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด

พาหุสัจจัญจะ สิปปัญจะ

ความได้ฟังแล้วมาก 1 ศิลปศาสตร์ 1

วินะโย จะ สุสิกขิโต

วินัยอันชนศึกษาดีแล้ว 1

สุภาสิตา จะ ยา วาจา

วาจาอันชนกล่าวไว้ดีแล้ว 1

เอตัมมังคะละมุตตะมังฯ

ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด

มาตาปิตุอุปัฏฐานัง

ความบำรุงมารดาและบิดา 1

ปุตตะทารัสสะ สังคะโห

ความสงเคราะห์ลูกและเมีย 1

อะนากุลา จะ กัมมันตา

การงานทั้งหลายไม่อากูล 1

เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ

ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด

ทานัญจะ ธัมมะจะริยา จะ

ความให้ 1 ความประพฤติธรรม 1

ญาตะกานัง สังคะโห

ความสงเคราะห์ญาติทั้งหลาย 1

อะนะวัชชานิ กัมมานิ

กรรมทั้งหลายไม่มีโทษ 1

เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ

ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด

อาระตี วิระตี ปาปา

ความงดเว้นจากบาป 1

มัชชะปานา จะ สัญญะโม

ความสำรวมจากการดื่มน้ำเมา 1

อัปปะมาโท จะ ธัมเมสุ

ความไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย 1

 เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ

ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด

คาระโว จะ นิวาโต จะ

ความเคารพด้วย 1 ความไม่จองหอง 1

สันตุฏฐี จะ กะตัญญุตา

ความยินดีด้วยของอันมีอยู่ 1

ความเป็นผู้รู้อุปการะอันท่านทำแล้วแก่ตน 1

สันตุฏฐี จะ กะตัญญุตา

ความยินดีด้วยของอันมีอยู่ 1 ความเป็นผู้รู้อุปาระอันผู้อื่นกระทำแล้วแก่ตน 1

กาเลนะ ธัมมัสสะวะนัง

ความฟังธรรมโดยกาล 1

เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ

ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด

ขันตี จะ โสวะจัสสะตา

ความอดทน 1 ความเป็นผู้ว่าง่าย 1

สะมะณานัญจะ ทัสสะนัง

ความเห็นสมณะทั้งหลาย 1

กาเลนะ ธัมมะสากัจฉา

ความเจรจาซึ่งธรรมโดยกาล 1

 เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ

ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด

ตะโป จะ พรัหมะจะริยัญจะ

ความเพียรเผากิเลส 1 ความประพฤติอย่างพรหม 1

อะริยะสัจจานัง ทัสสะนัง จ

ความเห็นซึ่งอริยสัจทั้งหลาย 1

นิพพานะสัจฉิกิริยา จะ

ความทำพระนิพพานให้แจ้ง 1

เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ

ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด

ผุฏฐัสสะ โลกะธัมเมหิ จิตตัง ยัสสะ นะ กัมปะติ

จิตของผู้ใดอันโลกธรรมทั้งหลายถูกต้องแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหว 1

อะโสกัง วิระชัง เขมัง

ไม่มีโศก ปราฐจากธุลี เกษม

เอตัมมังคะละมุตตะมัง

ข้อนั้นเป็นมงคลอันสูงสุด

เอตาทิสานิ กัตวานะ

(เทพดาและมนุษย์ทั้งหลาย) กระทำมงคลทั้งหลายเช่นนี้แล้ว

สัพพัตถะมะปะราชิตา

เป็นผู้ไม่พ่ายแพ้ในที่ทั้งปวง

สัพพัตถะโสตถิง คัจฉันติ

ย่อมถึงความสวัสดีในที่ทั้งปวง

ตันเตสัง มังคะละมุตตะมันติ

ขอนั้นเป็นมงคลอันสูงสุด ของเทพดาและมนุ๋ย์ทั้งหลายเหล่านั้นแล.

=====================

4.2 แปลมงคลสูตรโดยยกศัพท์

=====================

อะเสวะนา จะ พาลานัง

พาลานัง อะเสวะนา จะ อันว่าการไม่คบซึ่งคนพาลทั้งหลายด้วย

ปัณฑิตานัญจะ เสวะนา

ปัณฑิตานัง เสวะนา จะ อันว่าการคบซึ่งบัณฑิตทั้งหลายด้วย

ปูชา จะ ปูชะนียานัง

ปูชะนียานัง ปูชา จะ อันว่าการบูชาซึ่งคนที่ควรบูชาทั้งหลายด้วย

เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ

เอตัง พาลาเสวนาทิกัง กัมมัง อันว่าการกระทำมีการไม่คบคนพาลเป็นต้นนี้ มงฺคลํ เป็นมงคล อุตตะมัง อันสูงสุด โหติ ย่อมเป็น

ปะฏิรูปะเทสะวาโส จะ

ปะฏิรูปะเทสะวาโส จะ อันว่าการอยู่ในประเทศอันสมควรด้วย

ปุพเพ จะ กะตะปุญญะตา

ปุพเพกะตะปุญญะตา จะ อันว่าความเป็นผู้มีบุญอันทำแล้วในกาลก่อนด้วย

อัตตะสัมมาปะณิธิ จะ

อัตตะสัมมาปณิธิ จะ อันว่าความตั้งตนไว้ชอบด้วย

เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ

เอตํ ปฏิรูปะเทสะวาสาทิกัง กัมมัง อันว่าการกระทำมีการอยู่ในประเทศอันสมควรเป็นต้นนี้ มังคะลํ เป็นมงคล อุตตะมัง อันสูงสุด โหติ ย่อมเป็น

พาหุสัจจัญจะ สิปปัญจะ วินะโย จะ สุสิกขิโต

พาหุสัจจัง จะ อันว่าความได้ฟังแล้วมากด้วย

สิปปัง จะ อันว่าศิลปศาสตร์ด้วย

สุสิกขิโต วินะโย จะ อันว่าวินัยอันชนศึกษาดีแล้วด้วย

สุภาสิตา จะ ยา วาจา เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ

ยา สา สุภาษิตา วาจา จะ อันว่าวาจาอันเป็นสุภาษิตใดนั้นด้วย

เอตํ พาหุสัจจาทิกัง กัมมัง อันว่าการกระทำมีความได้ฟังแล้วมากเป็นต้นนั้นด้วย มังคะลัง เป็นมงคล อุตตะมัง อันสูงสุด โหติ ย่อมเป็น

มาตาปิตุอุปัฏฐานัง ปุตตะทารัสสะ สังคะโห

มาตาปิตุอุปฏฐานัง จะ อันว่าความบำรุงมารดาและบิดาด้วย

ปุตตะทารัสสะ สังคะโห จะ อันว่าความสงเคราะห์ลูกและเมียด้วย

อะนากุลา จะ กัมมันตา เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ

อะนากุลา กัมมันตา จะ อันว่าการงานทั้งหลาย อันไม่อากูลด้วย

ทานัญจะ ธัมมะจะริยา จะ ญาตะกานัญจะ สังคะโห

ทานัง จะ อันว่าความให้ด้วย

ธัมมะจะริยา จ อันว่าความประพฤติธรรมด้วย

ญาตะกานัง สังคะโห จะ อันว่าความสงเคราะห์ ซึ่งญาติทั้งหลายด้วย

อะนะวัชชานิ กัมมานิ เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ

อะนะวัชชานิ กัมมานิ จะ อันว่ากรรมทั้งหลาย อันไม่มีโทษด้วย

เอตํ ทานาทิกํ กมฺมํ อันว่ากรรมมีความให้เป็นต้นนั้น มังคะลํ เป็นมงคล อุตตะมัง อันสูงสุด โหติ ย่อมเป็น

อาระตี วิระตี ปาปา มัชชะปานา จะ สัญญะโม

ปาปา อาระตี วิรตี จะ อันว่าความงด ความเว้นจากบาปด้วย

มัชชะปานา สัญญะโม จะ อันว่าความสำรวมจากการตื่มซึ่งน้ำเมาด้วย

อัปปะมาโท จะ ธัมเมสุ เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ

ธัมเมสุ อัปปะมาโท จะ อันว่าความไม่ประมาทในธรรมทั้งหลายด้วย

เอตัง ปาปอารติวิรตยาทิกัง กัมมัง อันว่ากรรมมีความงดและความเว้นจากบาปเป็นต้นนั้น มังคะลัง เป็นมงคล อุตตะมัง อันสูงสุด โหติ ย่อมเป็น

คาระโว จะ นิวาโต จะ สันตุฏฐี จะ กะตัญญุตา

คาระโว จะ อันว่าความเคารพด้วย

นิวาโต จะ อันว่าความไม่จองหองด้วย

สันตุฏฐี จะ อันว่าความยินดีด้วยของอันมีอยู่ด้วย

กะตัญญุตา จะ อันว่าความเป็นผู้รู้อุปาระอันผู้อื่นกระทำแล้วแก่ตนด้วย

กาเลนะ ธัมมัสสะวะนัง เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ

กาเลนะ ธัมมัสสะวะนัง จะ อันว่าความฟังธรรมโดยกาลด้วย

เอตัง คาระวาทิกัง กัมมัง อันว่ากรรมมีความเคารพเป็นต้นนั้น มังคะลัง เป็นมงคล อุตตะมัง อันสูงสุด โหติ ย่อมเป็น

ขันตี จะ โสวะจัสสะตา สะมะณานัญจะ ทัสสะนัง

ขันตี จ อันว่าความอดทนด้วย

โสวะจัสสะตา จะ อันว่าความเป็นผู้ว่าง่ายด้วย

สะมะณานัง ทัสสะนัง จะ อันว่าความเห็นซึ่งสมณะทั้งหลายด้วย

กาเลนะ ธัมมะสากัจฉา เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ

กาเลนะ ธัมมะสากัจฉา จะ อันว่าความเจรจาซึ่งธรรมโดยกาลด้วย

เอตํ ขันตยาทิกัง กัมมัง อันว่ากรรมมีความอดทนเป็นต้นนั้น มังคะลัง เป็นมงคล อุตตะมัง อันสูงสุด โหติ ย่อมเป็น.

ตะโป จะ พรัหมะจะริยัญจะ อะริยะสัจจานะ ทัสสะนัง

ตะโป จ อันว่าความเพียรเผากิเลสด้วย

พรัหมะจะริยัง จะ อันว่าความประพฤติอย่างพรหมด้วย

อะริยะสัจจานัง ทัสสะนัง จ อันว่าความเห็นซึ่งอริยสัจทั้งหลายด้วย

นิพพานะสัจฉิกิริยา จะ เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ

นิพพานะสัจจะกิริยา จะ อันว่าความทำซึ่งพระนิพพานให้แจ้งด้วย

เอตัง ตะปาทิกัง กัมมัง อันว่ากรรมมีความเพียงเผากิเลสเป็นต้นนั้น มังคะลัง เป็นมงคล อุตตะมัง อันสูงสุด โหติ ย่อมเป็น

ผุฏฐัสสะ โลกะธัมเมหิ จิตตัง ยัสสะ นะ กัมปะติ

ยัสสะ ตัสสะ ปุคคะลัสสะ  โลกะธัมเมหิ ผุฏฐัสสะ จิตตัง นะ กัมปติ จ อันว่าจิตอันโลกธรรมทั้งหลายถูกต้องแล้วของบุคคลใดนั้น ย่อมไม่หวั่นไหวด้วย

อะโสกัง วิระชัง เขมัง เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ

ยัสสะ ตัสสะ ปุคคะลัสสะ  โลกะธัมเมหิ ผุฏฐัสสะ จิตตัง อะโสกัง โหติ จะ อันว่าจิตอันโลกธรรมทั้งหลายถูกต้องแล้วของบุคคลใดนั้น เป็นจิตอันไม่มีโศก ย่อมเป็นด้วย

ยัสสะ ตัสสะ ปุคคะลัสสะ   โลกะธัมเมหิ ผุฏฐัสสะ จิตตัง วิระชัง โหติ จะ อันว่าจิตอันโลกธรรมทั้งหลายถูกต้องแล้วของบุคคลใดนั้น เป็นจิตอันปราศจากธุลี ย่อมเป็นด้วย

ยัสสะ ตัสสะ ปุคคะลัสสะ  โลกะธัมเมหิ ผุฏฐัสสะ จิตตัง เขมัง โหติ จะ อันว่าจิตอันโลกธรรมทั้งหลายถูกต้องแล้วของบุคคลใดนั้น เป็นจิตมีความเกษม ย่อมเป็นด้วย

เอตัง อะกัมปะนะจิตตาทิกัง กัมมัง อันว่ากรรมมีจิตอันไม่หวั่นไหวเป็นต้นนั้น มังคะลัง เป็นมงคล อุตตะมัง อันสูงสุด โหติ ย่อมเป็น

เอตาทิสานิ กัตวานะ สัพพัตถะมะปะราชิตา

(เทวะมนุสสา อันว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย)  กัตวาน กระทำแล้ว มังคะลานิ ซึ่งมงคลทั้งหลาย เอทิสานิ เช่นนี้ สัพพัตถมะปะราชิตา เป็นผู้ไม่พ่ายแพในที่ทั้งปวง หุตฺวา เป็น

สัพพัตถะโสตถิง คัจฉันติ

คัจฉันติ ย่อมถึง สัพพัตถะโสตถิง ซึ่งความสวัสดีในที่ทั้งปวง

ตันเตสัง มังคะละมุตตะมันติ

ตํ การณัง อันว่าเหตุนั้น มังคลัง เป็นมงคล อุตตะมัง อันสูงสุด เตสัง เทวะมะนุสสานัง แห่งเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเหล่านั้น อิติ ด้วยประการฉะนี้

5.เสียงบทสวดมงคลสูตร

ลิงก์บทสวดมงคลสูตร : https://youtu.be/AGtotnPvOEQ

No comments:

Post a Comment

Google

Custom Search