ยินดีต้อนรับสู่เว็บ สวดมนต์เจ็ดตำนาน พร้อมทั้งตำนาน อานิสงส์ คำแปลและเสียงสวด ด้วยความยินดียิ่ง แวะเข้ามาเยี่ยมชมบ่อยๆนะครับ

Friday, September 23, 2022

บทสวดมนต์ โพชฌังคปริตร พร้อมตำนาน อานิสงส์ คำแปล และเสียงสวด

 


บทสวดมนต์ โพชฌังคปริตร พร้อมตำนาน อานิสงส์ คำแปล และเสียงสวด

ที่นำมาเสนอนี้ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 5 ส่วน คือ 1. บทสวด โพชฌังคปริตร 2.ตำนาน

 โพชฌังคปริตร 3.อานิสงส์ โพชฌังคปริตร 4.คำแปล โพชฌังคปริตร และ 5.เสียงสวด

 โพชฌังคปริตร ตามลำดับดังนี้


1.บทสวด โพชฌังคปริตร


โพชฌังโค สะติสังขาโต ...ธัมมานัง วิจะโย ตะถา

วิริยัมปีติปัสสัทธิ............... โพชฌังคา จะ ตะถาปะเร

สะมาธุเปกขะโพชฌังคา....สัตเตเต สัพพะทัสสินา

มุนินา สัมมะทักขาตา.........ภาวิตา พะหุลีกะตา

สังวัตตันติ อะภิญญายะ.....นิพพานายะ จะ โพธิยา

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ........โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา ฯ

 

เอกัส๎มิง สะมะเย นาโถ.....โมคคัลลานัญจะ กัสสะปัง

คิลาเน ทุกขิเต ทิสวา .......โพชฌังเค สัตตะ เทสะยิ

เต จะ ตัง อะภินันทิตวา.....โรคา มุจจิงสุ ตังขะเณ

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ.......โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา ฯ

 

เอกะทา ธัมมะราชาปิ........เคลัญเญนาภิปีฬิโต

จุนทัตเถเรนะ ตัญเญวะ.....ภะณาเปต๎วานะ สาทะรัง

สัมโมทิต๎วา จะ อาพาธา....ตัมหา วุฏฐาสิ ฐานะโส

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ........โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา ฯ

 

ปะหีนา เต จะ อาพาธา......ติณณันนัมปิ มะเหสินัง

มัคคาหะตะกิเลสา วะ........ปัตตานุปปัตติธัมมะตัง

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ ..... โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา ฯ


2.ตำนาน โพชฌังคปริตร


โพชฌงค์ เป็นชื่อหมวดธรรมที่เป็นเหตุให้ตรัสรู้อริยสัจ 4ของพระโยคีหรือพระโยคาวจร(พระ

โยคีหรือพระโยคาวจร แปลว่า ผู้หยั่งลงสู่ความพียร หรือผู้มีความเพียร) ในพระพุทธศาสนา

 หมวดธรรมที่เรียกว่า โพชฌงค์ หรือบางทีก็เรียกว่า สัมโพชฌงค์ นี้มีอยู่ 7 ข้อ คือ สติ ความ

ระลึกได้ ธรรมวิจัย ความเลือกเฟ้นธรรม วิริยะ ความพากเพียร ปีติ ความอิ่มใจ ปัสสัทธิ  ความ

สงบกาย สงบใจ สมาธิ ความตั้งใจมั่น และ อุเบกขา  ความวางเฉย เรียกตามศัพท์ธรรมเป็นราย

ข้อว่า สติสัมโพชฌงค์ ธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัม

โพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ และอุเบกขาสัมโพชฌงค์


โพชฌงค์ 7 นี้ เมื่อกล่าวตามบทสวดมนต์ที่นิยมสวดกัน ในหนังสือสวดมนต์ฉบับหลวงของ

สมเด็จพระสังฆราช(สา ปุสฺสเทว) ท่านนำพระสูตร 3 สูตร ที่กล่าวถึงโพชฌงค์ คือ มหากัสสป

โพชฌงคสูตร มหาโมคคัลลานโพชฌงคสูตร และมหาจุนทโพชฌชงคสูตร มาตั้งไว้หมวดหนึ่ง

ต่างหาก เรียกว่า ทุติยภาณวาร ในภาณวาร 4


ในภาษาไทยเรียกรวมอยู่ในสามภาณ ทั้ง 3 สูตรนั้นมีเนื้อความเหมือนกัน ต่างกันแต่บทนำของพระสูตรนั้น ดังนี้


-มหากัสสปโพชฌงคสูตร มีบทนำว่า สมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ วัดพระเวฬุวัน กรุง

ราชคฤห์ ในคราวนั้นพระมหากัสสปเถระพักอยู่ในถ้ำปิผลิคูหา ท่านอาพาธ(ป่วย)หนักไข้กำลัง

กำเริบ ในเย็นวันนั้นพระพุทธองค์เสด็จเยี่ยมท่านถึงถ้ำนั้น  ตรัสถามถึงผู้เฝ้าไข้ ตรัสถามถึงหมอ

แล้วถามพระมหากัสสปะถึงอาการไข้ว่า ยังพอทนได้อยู่หรือ ทุกขเวทนากล้าอยู่ หรือทุเลาลง

บ้าง เมื่อพระมหากัสปเถระกราบทูลว่า อาการไข้ทำท่าจะเหลือทนอยู่แล้ว ทุกขเวทนามีแต่จะ

กำเริบขึ้น ไม่มีทีท่าว่าจะทุเลาลงเลย พระพุทธองค์จึงทรงแสดงโพชฌงค์ทั้ง 7 ให้ท่านฟัง เมื่อ

ท่านได้ฟังจบแล้ว มีความปรีดาปราโมทย์ หายจากอาพาธเป็นปกติ ถวายบังึคมพระพุทธองค์

ด้วยความเคารพอย่างยิ่ง


-มหาโมคคัลลานสูตร มีบทนำทำนองเดียวกันว่า พระมหาโมคคัลลานเถระอาพาธ(ป่วย)หนักอยู่

ที่เขาคิชฌกูฏ พระพุทธองค์เสด็จเยี่ยม ตรัสถามถึงอาการไข้แล้วทรงแสดงโพชฌงค์ 7 ให้ฟัง

 ท่านฟังแล้วพิจารณาตามด้วยดี จบแล้วหายจากอาพาธเหมือนกัน


-มหาจุนทโพชฌงคสูตร ก็มีบทนำทำทองเดียวกันว่า เมื่อพระพุทธองค์ประทับอยู่ ณ วัดพระ

เวฬุวัน กรุงราชคฤห์ พระพุทธองค์ทรงพระประชวรหนัก อาการไข้กำเริบมิได้ทุเลาลงเลย มีแต่

จะกำเริบขึ้น พอพระจุทเถระเข้าไปเฝ้าเยี่ยมพระพุทธองค์ ได้นั่งเฝ้าอยู่ ยังไม่ทันได้กราบทูล

ถามถึงอาการประชวร พระพุทธองค์ก็โปรดให้พระจุนทเถระแสดงโพชฌงค์ที่พระองค์ได้แสดง

ไว้ดีแล้ว พระจุทเถระรับสนองพระพุทธฎีกา แสดงโพชฌงค์ 7 ถวายตามพระพุทธประสงค์ เมื่อ

ได้แสดงจบลงแล้ว พระพุทธองค์ทรงพอพระทัย ตรัสอนุโมทนาว่า โพชฌงค์ 7 นี้ดีนัก ทรงหาย

ประชวรในขณะนั้น


โพชฌงค์ทั้ง 3 สูตรนี้ โบราณนิยมนิมนต์พระสงฆ์ตั้งแต่ 5 รูปขึ้นไปสวดให้คนไข้หนักฟัง เรียก

กันว่า สวดต่อนาม บางคนหายไข้มีชีวิตยืนยาวต่อไปได้อีกนานๆ


3.อานิสงส์ โพชฌังคปริตร


บทสวดนี้มีความสำคัญที่พระสงฆ์นิยมนำมาสวดในงานทำบุญคล้ายวันเกิด หรือสวดเพื่อสร้าง

กำลังใจให้แก่ผู้ที่เจ็บไข้ได้ป่วยให้มีพลังจิตในการสร้างสติขึ้นซึ่งบทนี้จะเกิดอานุภาพมากหาก

ประกอบกับการบำเพ็ญจิตเจริญภาวนาควบคู่ไปด้วย


4.คำแปล โพชฌังคปริตร

4.1 คำแปลโดยอรรถ

โพชฌังโค สะติสังขาโต, ธัมมานัง วิจะโย ตะถา, วิริยัมปปสฺสัทธิ, โพชฌังคา จะ ตะถาปะเร, สะ

มาธุเปกขะโพชฌังคา , สัตเตเต สัพพะทัสสินา, มุนินา สัมมะทักขาตา, ภาวิตา พะหุลีกะตา

โพชฌงค์ 7 ประการ คือ สติสัมโพชฌงค์ ธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ ปีติสัม

โพชฌงค์ สัทสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันพระมุนีเจ้า ผู้เห็น

ธรรมทั้งสิ้น ตรัสไว้ชอบแล้ว อันบุคคลมาเจริญ ทำให้มากแล้ว

สังวัตตันติ อะภิญญายะ

ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้

เอเตน สัจเจนะ ด้วยการกล่วสัตย์นี้

โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา

ขอความสวัสดี จงมี แก่ท่าน ทุกเมื่อฯ

เอกัสมิง สะมะเย นาโถ

ในสมัยหนึ่ง พระโลกนาถเจ้า

โมคคัลลานัญจะ กัสสะปัง คิลาเนน ทุกขิเต ทิสวา

ทอดพระเนตร พระโมคคัลลานะ และพระกัสสปะ เป็นไข้ ถึงทุกขเวทนาแล้ว

โพชฌังเค สะตะ เทสะยิ

เต จะ ตัง อะภินันทิตวา

ท่านทั้งหลาย เพลิดเพลินภาษิตนั้น

โรคา มุจจิงสุ ตังขะเณ

หายโรคในขณะนั้น

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ

ด้วยการกล่าวสัตย์

โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา

ขอความสวัสดี จงมี แก่ท่าน ทุกเมื่อ

เอกะทา ธัมมะราชาปิ

ครั้งหนึ่ง แม้พระธรรมราชา(พระศาสดา)

เคลัญเญนาภิปีฬิโต

อันความประชวรเบียดเบียนแล้ว

จุนทัตเถเรนะ ตัญเญวะ,ภะณาเปตฺวานะ สาทะรัง

รับสั่งให้พระจุนทะเถระ แสดงโพชฌงค์นั้น โดยยินดี

สัมโมทิตวา จะ อาพาธา,ตัมหา วุฏฐาสิ ฐานะโส

ก็ทรงบันเทิงพระหฤทัยหายความประชวรไป โดยฐานะ

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ

ด้วยความกล่าวสัตย์นี้

โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา

ขอความสงัสดี จงมี แก่ท่าน ทุกเมื่อ

ปะหีนา เต จะ อาพาธา, ติณณัมนัมปิ มะเหสินัง

ก็อาพาธทั้งหลายนั้น อันพระมหาฤษีทั้ง 3 องค์ละได้แล้ว

มัคคาหะตะกิเลสาวะ, ปัตตานุปัตติธัมมะตัง

ถึงความไม่บังเกิดเป็นธรรมดา ดุจกิเลสอันมรรคกำจัดแล้ว

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ

ด้วยความกล่าวสัตย์นี้

โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา

ขอความสวัสดี จงมี แก่ท่าน ทุกเมื่อ ฯ

4.2 คำแปลโดยยกศัพท์

โพชฌังโค สะติสังขาโต, ธัมมานัง วิจะโย ตะถา, วิริยัมปปัสสัทธิ, โพชฌังคา จะ ตะถาปะเร, สะ

มาธุเปกขะโพชฌังคา , สัตเตเต สัพพะทัสสินา, มุนินา สัมมะทักขาตา, ภาวิตา พะหุลีกะตา

(สัตเตเต) สัตเต เอเต โพชฌังคา อันว่าโพชฌงค์ทั้งหลาย 7 เหล่านี้ อิติ คือ สติสังขาโต

 โพชฌังโค อันว่าสติโพชฌงค์ ตะถา อนึ่ง ธัมมานัง วิจะโย โพชฌังโค อันว่าวิจยโพชฌงค์ ตถา

 อนึ่ง โพชฌังคา อันว่า โพชฌงค์ทั้งหลาย อะปะเร อย่างอื่น (อีก 2) คือ วิริยัมปัสสัทธิ ( วิริโย

 โพชฌังโค, ปัสสัทธิ โพชฌังโค) อันว่าวิริยโพชฌงค์ อันว่าปัสสัทธิโพชฌงค์ สะมาธุเปกขะ

โพชฌังคา อันว่าสมาธิโพชฌงค์ และอุเบกขาโพชฌงค์ทั้งหลาย มุนินา สัมมะทักขาตา เป็นน

ธรรมอันพระมุนี(พระพุทธเจ้า)ตรัสไว้โดยชอบแล้ว ปุคคะเลนะ ภวิตา เป็นธรรมอันบุคคลเจริญ

แล้ว ปุคคะเลนะ พะหุลีกะตา เป็นธรรมอันบุคคลกระทำให้มากแล้ว หุตวา เป็น

สังวัตตันติ อะภิญญายะ

สังวัตตันติ ย่อมเป็นไป อะภิญญายะ เพื่อความตรัสรู้

เอเตน สัจจะวัชเชนะ

สัจเจนะ ด้วยการกล่าวคำสัตย์ เอเตนะนี้

โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา

โสตถิ อันว่าความสวัสดี โหตุ จงมี เต แก่ท่านสัพพทา ในกาลทุกเมื่อฯ

เอกัสมิง สะมะเย นาโถ

จะ อนึ่ง สมเย ในสมัย เอกัสมิง หนึ่ง นาโถ อันว่าพระโลกนาถเจ้า

โมคคัลลานัญจะ กัสสะปัง คิลาเนน ทุกขิเต ทิสวา

ทิสวา(ทอดพระเนตร) เห็นแล้ว โมคคัลลานัง จะ กัสสะปัง จะ ซึ่งพระโมคคัลลานะด้วย กัสสะปัง

 จะ ซึ่งพระกัสสปะด้วย คิลาเนะ ทุกขิเต ผู้ถึงแล้วซึ่งทุกข์ ด้วยความป่วยไข้

โพชฌังเค สะตะ เทสะยิ

เทสะยิ ทรงแสดงแล้ว โพชฌังเค ซึ่งโพชฌงค์ทั้งหลาย สัตตะ 7 อย่าง

เต จะ ตัง อะภินันทิตวา

จะ ก็ เต เทฺว เถรา อันว่าพระเถระ 2 รูป เหล่านั้น อภินันทิตวา เพลิดเพลินแล้ว ตัง เทสะนัง ซึ่ง พระธรรมเทศนานั้น

โรคา มุจจิงสุ ตังขะเณ

โรคา อันว่าโรคทั้งหลาย มุจจิงสุ หายไปแล้ว ตังขะเณ ในขณะนั้น

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ

สัจจะวัชเชนะ ด้วยการกล่าวซึ่งคำสัตย์ เอเตนะ นี้

โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา

โสตถิ อันว่าความสวัสดี โหตุ จงมี เต แก่ท่าน สัพพะทา ในกาลทุกเมื่อ

เอกะทา ธัมมะราชาปิ

เอกะทา ในกาลครั้งหนึ่ง ธัมมะราชาปิ แม้อันว่าพระธรรมราชา(พระพุทธเจ้า)

เคลัญเญนาภิปีฬิโต

(เคลัญเญนะ อภิปีฬิโต) ผู้อันความอาพาธเบียดเบียนแล้ว

จุนทัตเถเรนะ ตัญเญวะ,ภะณาเปตฺวานะ สาทะรัง

จุนทัตเถเรนะ ยังพระเถระชื่อว่าจุนทะ ภะณาเปตฺวานะ ให้กล่าวแล้ว ตัง เอวะ โพชฌังคะกถัง ซึ่ง

กถาว่าด้วยโพชฌงค์นั้นนั่นเทียว สาทะรัง โดยยินดี

สัมโมทิตวา จะ อาพาธา,ตัมหา วุฏฐาสิ ฐานะโส

สัมโมทิตวา ทรงบันเทิงแล้ว วุฏฐาสิ ทรงหายแล้ว อาพาธา จากอาพาธ ตัมหา นั้น ฐานะโส โดยฐานะ

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ

สัจจะวัชเชนะ ด้วยการกล่าวซึ่งคำสัตย์ เอเตนะ นี้

โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา

โสตถิ อันว่าความสวัสดี โหตุ จงมี จงมี เต แก่ท่าน แก่ท่าน สัพพะทา ในกาลทุกเมื่อ

ปะหีนา เต จะ อาพาธา, ติณณัมนัมปิ มะเหสินัง

จะ ก็ อาพาธา อันว่าอาพาธทั้งหลาย เต เหล่านั้น มเหสินัง อันผู้แสวงหาซึ่งคุณอันใหญ่ทั้งหลาย ติณณันนัมปิ แม้สามรูป ปะหีนา ละได้แล้ว

มัคคาหะตะกิเลสาวะ, ปัตตานุปัตติธัมมะตัง

(เต มะเหสิโน อันว่าผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ เหล่านั้น) คัจฉันติ ย่อมถึง ปัตตานุปปัตติธัมมะตัง

 ซึ่งความไม่บังเกิดเป็นธรรมดา มัคคาหะตะกิเลสา อิวะ ราวกะ อันว่ากิเลสอันมรรคกำจัดแล้ว

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ

สัจจะวัชเชน ด้วยการกล่าวคำสัตย์ เอเตนะ นี้

โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา

โสตถิ อันว่าความสวัสดี โหตุ จงมี เต แก่ท่าน สัพพะทา ในกาลทุกเมื่อ ฯ


5.เสียงสวด โพชฌังคปริตร

https://youtu.be/AUXGAdAr9yk


No comments:

Post a Comment

Google

Custom Search